เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้าภาพถ่ายพระธาตุพระอรหันตสมัยพุทธกาล

พระอรหันตธาตุสมัยพุทธกาล**

พระพิมพาเถรี

 

"พระพิมพาเถรี
สัณฐานแป้งหยด เป็นจั่วสามเหลี่ยม เป็นเล็บมือ เป็นแผ่นกระแจะ พรรณขาวบ้าง เหลืองดังสีลานบ้าง ดำก็มีบ้าง สีดอกพิกุลแห้งบ้าง บางทีมีรูทะลุกลาง บางทีไม่ทะลุเป็นแต่สะดือก็มี"

ประวัติ พระพิมพาเถรี, ยโสธรา(พระภัททากัจจานาเถรี),เอตทัคคผู้ได้บรรลุอภิญญาใหญ่(๔)


พระนางยโสธรา(พิมพาหรือยโสธราพิมพา) เกิดในตระกูลศากยะ แห่งโกลิยวงศ์ เมืองเทวทหะ เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ และพระมารดามีพระนามว่า พระนางอมิตาเทวี มีพระเทวทัตเป็นพระเชษฐา พระนางยโสธราประสูติวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ(พระพุทธเจ้า) ซึ่งพระนางเป็นสหชาติของพระพุทธเจ้า. เมื่อพระนางประสูติแล้วพวกญาติทั้งหลายได้ทรงถวายนามว่า "ภัททากัจจานา" เพราะพระสรีระของพระนาง มีพระฉวีวรรณสีเหมือนทองคำอันบริสุทธิ์. เมื่อพระนางเจริญวัยมีพระชนม์ ๑๖ พรรษา ได้อภิเษกสมรส กับเจ้าชายสิทธัตถะ(พระพุทธเจ้า) เมื่อมีพระชนม์ ๒๙ พรรษาได้ ประสูติราชโอรส โดยพระเจ้าสุทโธทนะให้พระนามว่า พระราหุล

พระผู้มีพระภาคทรงโปรดพระญาติครั้งแรก

ในระหว่างพรรษาที่ ๑ ถึงพรรษาที่ ๒ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ได้กลับมาโปรดพระญาติ ขณะที่ทรงบิณฑบาตอยู่ มหาชนโจษขานกันว่า ได้ข่าวว่า สิทธัตถกุมารผู้เป็นเจ้านายเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว พระนางจึงเปิดหน้าต่างในปราสาทชั้น ๒ และชั้น ๓ เป็นต้น ได้เป็นผู้ขวนขวายเพื่อจะดู. ฝ่ายพระเทวีพระมารดาของพระราหุล ทรงดำริว่า นัยว่า พระลูกเจ้าเสด็จเที่ยวไปในพระนครนี้แหละด้วยวอทอง เป็นต้น โดยราชานุภาพยิ่งใหญ่ มาบัดนี้ ปลงปมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ถือกระเบื้องเสด็จเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว จะงามหรือหนอ จึงทรงเปิดพระแกลทอดพระเนตรดู ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังถนนในพระนครให้สว่าง ด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระ อันเรืองรองด้วยแสงสีต่าง ๆ ไพโรจน์งดงามด้วยพุทธสิริอันหาอุปมามิได้ ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สดใสด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ตามประชิดล้อมรอบด้วยพระรัศมีด้านละวา จึงทรงชมเชยตั้งแต่พระอุณหิส (ได้แก่ส่วนที่เลยหน้าผากไป) จนถึงพื้นพระบาท ด้วยคาถาชื่อว่านรสีหคาถา
๑๐ คาถามีอาทิอย่างนี้ว่า

พระผู้นรสีหะ มีพระเกสาเป็นลอนอ่อนดำสนิท มีพื้น
พระนลาตปราศจากมลทินดุจพระอาทิตย์ มีพระนาสิกโค้ง
อ่อนยาวพอเหมาะ มีข่ายพระรัศมีแผ่ซ่านไป ดังนี้.

แล้วกราบทูลแด่พระราชาว่า พระโอรสของพระองค์เสด็จเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว. พระเจ้าสุทโธทนะสลดพระทัย เอาพระหัตถ์จัดผ้าสาฎกให้เรียบร้อย พลางรีบด่วนเสด็จออก รีบเสด็จดำเนินไป ประทับยืนเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรง
กระทำหม่อมฉันให้ได้อาย เพื่ออะไรจึงเสด็จเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว ทำไมพระองค์จึงทรงกระทำความสำคัญว่า ภิกษุมีประมาณเท่านี้ไม่อาจได้ภัตตาหาร.
พระศาสดาตรัสว่า
มหาบพิตร นี้เป็นการประพฤติตามวงศ์ของอาตมภาพ.
พระราชาตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่าวงศ์ของเรา
ทั้งหลายเป็นวงศ์กษัตริย์มหาสมมตราช ก็วงศ์กษัตริย์มหาสมมต
ราชนี้ ย่อมไม่มีกษัตริย์สักพระองค์เดียว ชื่อว่าผู้เที่ยวไปเพื่อภิกษา.
พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ชื่อว่าวงศ์กษัตริย์นี้ เป็นวงศ์
ของพระองค์ ส่วนชื่อว่าพุทธวงศ์นี้ คือพระทีปังกร พระโกณฑัญญะ
ฯลฯ พระกัสสปเป็นวงศ์ของอาตมภาพ ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เหล่านี้และอื่น ๆ นับได้หลายพัน ได้สำเร็จการเลี้ยงพระชนม์ชีพ
ด้วยการเที่ยวภิกขาจารเท่านั้น ทั้งที่ประทับยืนอยู่ในระหว่างถนน
นั่นแล ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
บุคคลไม่ควรประมาทในก้อนข้าวที่ตนพึงลุกขึ้นยืนรับ
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต บุคคลผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ
ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ดังนี้.
ในเวลาจบพระคาถา พระราชาทรงดำอยู่ในพระโสดาปัตติผล.
ได้ทรงสดับคาถานี้ว่า
บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ให้พึงประพฤติธรรมนั้น
ให้ทุจริต ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้
และโลกหน้า ดังนี้.
ได้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามิผล.
ทรงสดับมหาธัมมปาลชาดก ได้ดำรงอยู่ในพระอนาคามิผล.
ก็พระราชานั้น ครั้นทรงกระทำให้แจ้งพระโสดาปัตติผลแล้วแล
ทรงรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำพระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมทั้งบริษัทขึ้นสู่มหาปราสาท ทรงอังคาสด้วยขาทนียโภชนียาหาร
อันประณีต.
ในเวลาเสร็จภัตกิจ นางสนมทั้งปวงพากันมาถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ยกเว้นพระมารดาพระราหุล. ก็พระมารดา
พระราหุลนั้น แม้ปริวารชนจะกราบทูลว่า
ขอพระองค์จงเสด็จไปถวายบังคม พระลูกเจ้า ก็ตรัสว่า
ถ้าคุณความดีของเรามีอยู่ พระลูกเจ้าจักเสด็จมายังสำนักของเรา
ด้วยพระองค์เอง พระองค์เสด็จมานั้นแหละ เราจึงจะถวายบังคม
ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็มิได้เสด็จไป.
ก็แลพระศาสดาประทับนั่งในพระนิเวศน์ของพุทธบิดา
ในเวลากำลังเสวย ตรัสมหาธัมมปาลชาดก เสวยเสร็จทรงดำริว่า
เราจักนั่งในนิเวศน์ของมารดาราหุล กล่าวถึงคุณของเธอ แสดง
จันทกินนรชาดก ให้พระราชาทรงถือบาตรเสด็จไปที่ประทับ
แห่งพระมารดาของพระราหุล กับพระอัครสาวกทั้งสอง.
ครั้งนั้นนางระบำ ๔๐,๐๐๐ ของพระนางพากันอยู่พร้อมหน้า.
บรรดานางทั้งนั้นที่เป็นขัตติยกัญญาถึง ๑,๐๙๐ นาง.
พระนางทรงทราบว่าพระตถาคตเสด็จมา ตรัสบอกแก่นาง
เหล่านั้นว่า จงพากันนุ่งผ้าย้อมน้ำฝาดทั่วกันทีเดียว.
นางเหล่านั้นพากันกระทำอย่างนั้น พระศาสดาเสด็จมา
ประทับนั่งเหนือพระแท่นที่เตรียมไว้.
ครั้งนั้นพวกนางเหล่านั้นทั้งหมด ก็พากันร้องไห้ประดังขึ้น
เป็นเสียงเดียวกันอื้ออึงไป. เสียงร่ำให้ขนาดหนักได้มีแล้ว ฝ่าย
พระมารดาของพระราหุลเล่า ก็ทรงกันแสง ครั้นทรงบรรเทา
ความโศกได้ ก็ถวายบังคมพระศาสดา ประทับนั่งด้วยความ
นับถือมาก เป็นไปกับความเคารพอันมีในพระราชา.
ครั้งนั้นพระราชาทรงพระปรารภคุณกถาของพระนาง
ได้ตรัสเล่าพรรณนาคุณของพระนางด้วยประการต่าง ๆ เช่น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สะใภ้ของโยม ฟังว่า พระองค์ทรงนุ่ง
กาสาวพัสตร์ นางก็นุ่งกาสาวพัสตร์เหมือนกัน ฟังว่าพระองค์เลิก
ทรงมาลาเป็นต้น ก็เลิกทรงมาลาเป็นต้น ฟังว่าทรงเลิกบรรทมเหนือ
พระยี่ภอันสูงอันใหญ่ ก็บรรเทาเหนือพื้นเหมือนกัน ในระยะกาล
ที่พระองค์ทรงผนวชแล้ว นางยอมเป็นหญิงหม้าย มิได้รับ
บรรณาการที่พระราชาอื่น ๆ ส่งมาให้เลย นางมีจิตมิได้เปลี่ยน
แปลงในพระองค์ถึงเพียงนี้. พระศาสดาตรัสว่า
มหาบพิตร ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่นางมีความรักไม่เปลี่ยนแปลง
ในอาตมภาพอย่างไม่ไยดีในผู้อื่นเลย ในอัตภาพสุดท้ายของ
อาตมภาพครั้งนี้ แม้บังเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน ก็ยังได้มีจิตไม่
เปลี่ยนแปลงในอาตมภาพอย่างไม่ไยดีในผู้อื่นเลย แล้วทรงรับ
อาราธนานำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.

ก็ในวันรุ่งขึ้น เมื่องานวิวาหมงคลเนื่องในการเสด็จเข้า
พระตำหนักอภิเษกของนันทราชกุมารกำลังเป็นไปอยู่ พระศาสดา
เสด็จไปยังตำหนักของนันทราชกุมารนั้น ทรงให้พระกุมารถือบาตร
มีพระประสงค์จะให้บวช นันทกุมารไม่ปรารถนาเลย
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงให้บวชแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ ทรงให้นันทะ
บวชในวันที่ ๓ ด้วยประการฉะนี้.
ในวันที่ ๗ แม้พระนางยโสธราพิมพา ก็ทรงแต่องค์
พระกุมาร แล้วส่งไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
นี่แน่ะพ่อ เจ้าจงดูพระสมณะนั่น ซึ่งมีวรรณแห่งรูปดังรูปพรหม
มีวรรณดังทองคำ ห้อมล้อมด้วยสมณะสองหมื่นรูป พระสมณะนี้
เป็นบิดาของเจ้า พระสมณะนั่นมีขุมทรัพย์ใหญ่
จำเดิมแต่พระสมณะนั้นออกบวชแล้ว แม้ไม่เห็นขุมทรัพย์
เหล่านั้น เจ้าจงไปขอมรดกกะพระสมณะนั้นว่า
ข้าแต่พระบิดา ข้าพระองค์เป็นกุมาร ได้รับอภิเษกแล้วจักได้
เป็นจักรพรรดิ ข้าพระองค์ต้องการทรัพย์ ขอพระองค์จงประทาน
ทรัพย์แก่ข้าพระองค์ เพราะบุตรย่อมเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกของบิดา
และพระกุมารก็ได้ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแล
ได้ความรักในฐานเป็นบิดา มีจิตใจร่าเริง กราบทูลว่า
ข้าแต่พระสมณะ ร่มเงาของพระองค์เป็นสุข แล้วได้ยืน
ตรัสถ้อยคำอื่น ๆ และถ้อยคำอันสมควรแก่ตนเป็นอันมาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำภัตกิจแล้ว ตรัสอนุโมทนาเสร็จแล้ว
ทรงลุกจากอาสนะเสด็จหลีกไป. ฝ่ายพระกุมารกราบทูลว่า
ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงประทานทรัพย์มรดกแก่
ข้าพระองค์... แล้วติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ให้พระกุมารกลับ แม้ปริวารชนก็ไม่
อาจยังพระกุมารผู้เสด็จไปกับพระผู้มีพระภาคเจ้าให้กลับได้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า
กุมารนี้ปรารถนาทรัพย์อันเป็นของบิดา ซึ่งเป็นไปตามวัฏฏะ
มีแต่ความคับแค้น เอาเถอะเราจะให้อริยทรัพย์ ๗ ประการ
ซึ่งเราได้เฉพาะที่โพธิมัณฑ์แก่กุมารนี้ เราจะทำกุมารนั้นให้เป็น
เจ้าของทรัพย์มรดกอันเป็นโลกุตระ จึงตรัสเรียกท่านพระสารีบุตร
มาว่า สารีบุตร ถ้าอย่างนั้น ท่านจงให้ราหุลกุมารบวช ซึ่ง
พระราหุลก็ได้เป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา.

พระนางยโสธราพิมพาออกบวช

หลังจากนั้น ประมาณพรรษาที่ ๕ แห่งพระผู้มีพระภาค ต่อมาเมื่อพระเจ้าสุทโธทนมหาราชปรินิพพานแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมีพร้อมกับมาตุคาม ๕๐๐ นาง ขอบรรพชาในสำนักของพระศาสดา. ส่วนทางพระนครกบิลพัสดุ์ หมู่อำมาตย์ได้ทำพิธีราชาภิเษกให้เจ้าชายมหานามะ ขึ้นครองราชสมบัติแทน.

พระนางยโสธราพิมพา พร้อมบริวาร ๑,๑๐๐ คน ก็พากันไปยังสำนักของพระเถรี ได้รับคุรุธรรม ๘ บวชแล้ว ขณะนั้น พระนางมีพระชนมายุ ๔๐ พรรษา ภายหลัง นางจำเดิมแต่บวชแล้วได้ปรากฏชื่อว่า ภัททากัจจานาเถรี. พระนางมีพระนามว่า ภัททากัจจานา. ก็เพราะผิวพรรณแห่งสรีระของพระนางนั้นเป็นผิวพรรณเหมือนผิวของทองคำชั้นดีที่สุด.

พระภัททากัจจานาเถรี (ยโสธา) บรรลุอรหัต

ต่อมา พระภัททากัจจานาเถรี รับกรรมฐานจากพระพุทธเจ้า และเจริญวิปัสสนายังไม่ทันถึง ๑๕ วัน ก็บรรลุพระอรหัต พระภัททากัจจานาเถรี เป็นผู้ช่ำชองชำนาญในอภิญญาทั้งหลายนั่งขัดสมาธิครั้งเดียว. ระลึกชาติได้ถึงอสงไขยหนึ่งยิ่งด้วยแสนกัป โดยการระลึกถึงเพียงครั้งเดียว ความจริง สำหรับพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มีผู้ที่สำเร็จอภิญญาใหญ่ได้ ๔ ท่าน สาวกที่เหลือหาสำเร็จไม่. เพราะสาวกที่เหลือ
ย่อมสามารถระลึกชาติได้ตลอดแสนกัปเท่านั้น ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นระลึกไม่ได้. แต่ท่านผู้บรรลุอภิญญาใหญ่ย่อมระลึกชาติได้อสงไขยหนึ่งยิ่งด้วยแสนกัป. ในศาสนาของพระศาสดาแม้ของพวกเราชน ๔ ท่านเหล่านี้คือ พระอัครสาวก ๒ รูป พระพากุลเถระ พระนางภัททากัจจานาเถรี สามารถระลึกชาติได้ประมาณเท่านี้. เพราะฉะนั้น เมื่อคุณความดีนั้นของนางปรากฏชัดแล้ว พระศาสดาประทับนั่งในพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาผู้บรรลุอภิญญาใหญ่ แล.

พระนางภัททากัจจานาเถรีนิพพาน

ในพรรษาที่ ๔๓ แห่งพระผู้มีพระภาค เวลานั้นพระนางภัททากัจจานาเถรี มีพระชนมายุได้ ๗๘ พรรษา ได้เข้าไปกราบทูลลาพระผู้มีพระภาคเพื่อปรินิพพาน ดังความย่อในอปทานว่า

ดิฉันมีฤทธิ์มาก มีปัญญามาก มีภิกษุณี ๑,๑๐๐ องค์ เป็นบริวาร เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ถวายอภิวาทแล้วเห็นลายลักษณ์กงจักรของพระศาสดา แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ได้กราบทูลว่า

" หม่อมฉันมีอายุ ๗๘ ปี ล่วงเข้าปัจฉิมวัยแล้ว ถึงความเป็น
ผู้มีกายเงื้อมลงแล้ว ขอกราบทูลลาพระมหามุนี หม่อมฉันมี
วัยแก่ มีชีวิตน้อย จักละพระองค์ไป มีที่พึ่งของตนได้ทำแล้ว
มีมรณะใกล้เข้ามา ในวัยหลัง ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉัน
จักถึงความดับในคืนวันนี้ "

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com