Quick
link : บูชาพระธาตุ | อัญเชิญพระธาตุ
| หน้า2 >>>
บูชาพระธาตุ
(มีทั้งหมด 6 หน้า)
พระบรมสารีริกธาตุ
เป็นปูชนียวัตถุที่ทรงไว้ด้วยคุณค่า ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ และ ศาสนา
อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่สูงค่า ควรแก่การเคารพบูชาอย่างสูงสุด หากท่านผู้ใดมีโอกาสได้เก็บรักษาไว้ ขอท่านจงบูชาด้วยความเคารพ เนื่องจากพระบรมสารีริกธาตุนั้นหาได้ยาก
และยังเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุดในไตรภพที่มนุษย์และเทวดาพึงสักการะ
|
วิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
การจะบูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้นก่อนอื่นต้องชำระล้างร่างกาย
ทำจิตใจ ให้สะอาดผ่องใส จัดหาดอกมะลิใส่ภาชนะบูชา ตั้งสักการะ
ณ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แล้วจุดธูปและเทียน
ตั้งใจให้เป็นสมาธิ กราบ 3 ครั้ง แล้วจึงตั้งนะโม 3 จบ กล่าวคำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
คำกล่าวบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
มีอยู่มากมายทั้งภาษาบาลี และภาษาไทย แต่ที่พบเห็นกันอยู่โดยทั่วไป
และกระทำได้โดยง่ายนั้นคือ
คำกล่าวพรรณนาพระบรมสารีริกธาตุ
"
อะหัง วันทามิ ทูระโต
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิ สัพพะโส "
*คำกล่าวอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ
ก็สามารถนำมาใช้กล่าวบูชาได้เช่นกัน*
|
การบูชาพระธาตุนั้น
นอกเหนือจากการบูชาด้วย "อามิสบูชา"
เช่น การบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และ เครื่องหอมต่างๆแล้ว การบูชาด้วยการ
"ปฏิบัติบูชา" ซึ่งเป็นวิธีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ
เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่นิยมปฏิบัติควบคู่ไปด้วย ในการบูชาซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ
และพระธาตุทั้งหลาย โดยทั่วไปนิยมปฏิบัติตามแนวอริยมรรค 8 ประการ สรุปโดยย่อได้แก่
1.
การบูชาด้วยศีล
ซึ่งศีลเป็นพื้นฐานและเป็นที่ตั้งมั่นแห่งการทำความดี เป็นเกราะป้องกันความชั่วทั้งปวง
ไม่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ทำให้เกิดความพร้อมต่อการปฏิบัติสมาธิ (สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
2.
การบูชาด้วยสมาธิ ซึ่งการสวดมนต์ภาวนา นั่งสมาธิ ดูลมหายใจเข้า-ออก
เป็นการฝึกความเข้มแข็งของจิต ให้มีกำลังในการพิจารณาหลักธรรมต่างๆได้ตามความเป็นจริง
(สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
3.
การบูชาด้วยปัญญา
คือการใช้ปัญญาพิจารณาหลักความเป็นจริง ตามหลักไตรลักษณ์ (สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ)
นอกจากนี้
การบูชาพระธาตุยังได้ประโยชน์
ในด้านเป็นอนุสติ 10 อีกด้วย ดังนี้คือ
พุทธานุสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
(พระบรมสารีริกธาตุ)
ธัมมานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระธรรม (ธรรมที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
สังฆานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ (พระสงฆ์สาวกธาตุ)
สีลานุสสติ คือ การระลึกถึงศีลของตน (ผลของศีลที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
จาคานุสติ คือ การระลึกถึงทานของตน (ผลของทานที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
เทวตานุสสติ
คือ การระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา (เทวดารักษาพระธาตุ)
มรณานุสสติ คือ การระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน
(แม้พระอริยเจ้าก็ต้องตาย)
กายคตาสติ คือ ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่าไม่งาม
น่าเกลียด (เมื่อตายแล้วก็เหลือเพียงกระดูก)
อานาปานสติ คือ การระลึกถึงสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
(ผลของสมาธิที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
อุปสมานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณพระนิพพาน (แดนพระนิพพานที่พระอริยเจ้าได้ก้าวล่วง) |
วิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ
สำหรับบ้านที่มีพระบรมสารีริกธาตุไว้บูชาอยู่แล้วคงจะทราบดี
เป็นที่น่าแปลกคือ พระบรมสารีริกธาตุนั้น
สามารถเพิ่ม หรือลดจำนวนได้เอง โดยสามารถเสด็จไปไหนมาไหนเองก็ได้
แม้ว่าจะเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทดีสักเท่าใดก็ตาม โดยเชื่อกันว่าหากไม่ดูแลรักษาเอาใจใส่
ประดิษฐานไว้ในที่ไม่สมควร หรือขาดการถวายความเคารพแล้ว พระบรมสารีริกธาตุอาจเสด็จหายจากสถานที่นั้นๆ
ก็เป็นได้ โดยทางตรงกันข้าม หากได้รับการปฏิบัติบูชาดี ผู้สักการบูชา
มีกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ อยู่ในศีลธรรม พระบรมสารีริกธาตุก็อาจเพิ่มจำนวนได้เช่นกัน
ดังที่ปรากฏใน คัมภีร์มโนรถปูรณี (อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต)
|
วิธีอัญเชิญโดยทั่วๆไปมีดังนี้
1. จัดที่บูชาให้สะอาด
2. ตั้งพานมะลิบูชา (ถ้ามี)
3. นำน้ำสะอาดใส่ขันสัมฤทธิ์ตั้งไว้หน้าที่บูชา (ตามวิธีโบราณ)
4. ชำระล้างร่างกายให้สะอาด
5. ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง มีสมาธิ
6. สมาทานศีล
7. ระลึกถึงพระพุทธคุณ (ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ
อิติปิโสฯ)
8. สวดคาถาอัญเชิญพระธาตุ ดังนี้
|
พระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมา
ขณะที่ หลวงตาพวง สุขินทริโย กำลังนั่งสมาธิ ณ วัดสิริกมลาวาส
เมื่อปี พ.ศ. 2547
|
|
"
อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคะโต อัสสามิมะหันตา
ภินนะมุคคา จะ มัชฌิมา ภินนะตัณฑุลา ขุททุกะ สาสะปะมัตตา เอวัง
ธาตุโย สัพพัฏฐาเน อาคัจฉันตุ สีเสเม ปะตันเต "
หรือ
"
อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทตังโสอิ อิโสตัง
พุทธะปิติอิ "
*
การเสด็จมามีด้วยกันหลายวิธี เช่น เสด็จมาเองโดยปาฏิหาริย์ มีผู้มอบให้
แบ่งองค์ ฯลฯ
|
next>>>
|