Quick
link : <<<หน้า
1 | พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ | พระธาตุลอยน้ำ
พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ
อรรถกถาสุมังคลวิลาสินี
ซึ่งเป็นคัมภีร์อธิบายความพระสูตรทีฆนิกาย ในพระสุตตันตปิฎกนั้น พระอรรถกถาจารย์ได้แบ่งลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น
2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1.นวิปฺปกิณฺณา
ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุที่ยังคงรูปร่างเดิมอยู่เป็นชิ้นเป็นอัน
มิได้แตกย่อยลงไป มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก)
1องค์ พระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) 2 องค์
2.วิปฺปกิณฺณา
ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่มิได้คงรูปร่างอยู่เป็นชิ้น แต่แตกย่อยลงเป็นเป็นจำนวนมาก กระจายไปประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆ
ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้จำแนกลักษณะและขนาดของพระบรมสารีริกธาตุชนิด
วิปฺปกิณฺณา ธาตุ ต่อไปอีกดังนี้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะภายนอก
แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
|
1.
(สี)เหมือนดอกมะลิตูม (สีพิกุล)
[อรรถกถาบาลีว่า สุมนมกุลสทิสา]
ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้
ตวงได้ 6 ทะนาน |
|
|
2.
(สี)เหมือนแก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว
(สีผลึก)
[อรรถกถาบาลีว่า โธตมุตฺตสทิสา]
ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้
ตวงได้ 5 ทะนาน |
|
|
3.
(สี)เหมือนจุณ หรือ ผงทองคำ (สีทองอุไร)
[อรรถกถาบาลีว่า สุวณฺณจุณฺณา]
ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้
ตวงได้ 5 ทะนาน |
|
และเมื่อพิจารณาจากขนาด
ท่านแบ่งได้เป็น 3 ขนาด (ดูเปรียบเทียบขนาดได้จากภาพประกอบ) ได้แก่
|
1.ขนาดเล็ก
ประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด
[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า
สพฺพขุทฺทกา ธาตุ สาสปวีชมตฺตา]
*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งมะลิตูม |
|
|
2.ขนาดเขื่อง
คือมีขนาดใหญ่ขึ้นมา ประมาณเมล็ดข้าวสารหักกึ่ง
[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า
มหาธาตุ มชฺเฌ ภินฺนตณฺฑุลมตฺตา]
*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งแก้วมุกดา |
|
|
3.ขนาดใหญ่
คือมีขนาดใหญ่ที่สุด ประมาณเมล็ดถั่วเขียวผ่ากลาง*
[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า
อติมหตี มชฺเฌ ภินฺนมุคฺคามตฺตา]
*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งทองอุไร |
|
*หมายเหตุ
1
บางตำราที่ระบุขนาด ได้แก่ คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุของโบราณ;
ตำนานพระเจ้าเลียบโลก
*หมายเหตุ
2
ในอรรถกถาบาลีกล่าวว่าเป็นถั่วมุคคะ โดยปาลี-สยามอภิธาน ของนาคะประทีป
ให้ความหมายคำว่า ถั่วมุคคะ คือ ถั่วเขียว และเพิ่มเติมข้อมูลชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็น
Phaseolus mungo เช่นเดียวกับที่พบในเอกสารทางพุทธศาสนาต่างประเทศบางฉบับ
ซึ่งถั่วชนิดนี้มีชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ถั่วเขียวผิวดำ
หรือ ถั่วดำเมล็ดเล็ก ซึ่งเป็นถั่วคนละชนิดกับถั่วเขียวที่พบทั่วไป
(Phaseolus aureus)
อย่างไรก็ดีถั่วทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมา มีความยาวใกล้เคียงกันคือประมาณ
0.50 ซม.
|
เกร็ดความรู้ว่าด้วยสีพระบรมสารีริกธาตุ |
ไข่มุก
moonstone
|
............ในอรรถกถาสุมังคลวิลาสินีกล่าวถึง
สีของพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด 3 สี ได้แก่ สีดอกมะลิตูม
สีแก้วมุกดา และสีผงทองคำ ทั้งนี้ สีดอกมะลิตูมและสีผงทองคำนั้น
สามารถพบเห็นและเปรียบเทียบได้ง่าย แต่สีแก้วมุกดานั้น
ชวนให้สงสัยว่าจะเป็นสีอย่างไร
.............คำว่า
มุกดา นั้นมาจากภาษาบาลีว่า
มุตฺตา โดยพจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า
"มุกดา" คือ ไข่มุก, ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในพวกนพรัตน์
สีหมอกอ่อนๆ ซึ่งรัตนะในความหมายหลังมีผู้จำแนกไว้ว่าคือ
moonstone (แต่บางท่านก็ว่า
มุกดา ในนพรัตน์ของไทยนั้นคือ แก้วใสสีขาว ไม่ใช่ moonstone)
ซึ่งหากในความหมายนี้หมายถึงแก้วใสสีขาว หรือ moonstone
แล้ว พระบรมสารีริกธาตุสีนี้ จะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปเป็นจำนวนมาก
แต่หากหมายถึงไข่มุกแล้ว พระบรมสารีริกธาตุ ที่มีลักษณะสีเหลือบแบบไข่มุกนั้น
จะพบเห็นได้ค่อนข้างยาก
.............อย่างไรก็ดี
เมื่อพิจารณาจากคำว่า "แก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว"
ในอรรถกถา เป็นไปได้ว่า มุกดา ในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงไข่มุก
เนื่องจากมีคำว่าเจียระไนเข้ามาประกอบ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม
แม้คำนี้จะหมายถึงไข่มุก พระบรมสารีริกธาตุที่มีสีในเฉดขาว-เทาไข่มุกทั้งหมด
ก็อาจนับอยู่ในกลุ่มสีแก้วมุกดาได้ เช่นเดียวกับพระบรมสารีริกธาตุลักษณะสีทองอุไร
ที่นับเอาพระบรมสารีริกธาตุที่มีสีเฉดเหลืองทั้งหมดเข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้ |
|
เกร็ดความรู้ว่าด้วยอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี |
............อรรถกถาสุมังคลวิลาสินี
เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความพระสูตรทีฆนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก
เรียบเรียงขึ้นโดยพระพุทธโฆสาจารย์ พระภิกษุชาวอินเดีย
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1000 พระพุทธโฆสาจารย์ เป็นชาวอินเดีย
บ้านเกิดท่านอยู่ใกล้พุทธคยา ศึกษาจบไตรเพทตามธรรมเนียมพราหมณ์ก่อน
ภายหลังได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงบรรพชาอุปสมบทและได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศศรีลังกา
ท่านได้เรียบเรียงคัมภีร์ต่างๆ ขึ้นมากมาย เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค
ในเวลานั้นที่เกาะลังกา มีอรรถกถาต่างๆ อยู่ก่อนแล้ว
แต่เป็นภาษาสิงหล ท่านจึงได้แปลเป็นภาษาบาลี แล้วรจนาอรรถกถาอื่นๆ
เพิ่มเติม เช่น คัมภีร์สมันตัปปสาทิกา สุมังคลวิลาสินี
ปปัญจสูทนี สารัตถปกาสินี มโนรถปูรณี ปรมัตถทีปนี เป็นต้น
แล้วจึงได้เดินทางกลับอินเดีย ปัจจุบันคัมภีร์ที่ใช้ศึกษาอยู่ในเมืองไทยขณะนี้
เป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์เป็นส่วนมาก
|
|
พระธาตุลอยน้ำ
|
ตามโบราณาจารย์ต่างๆท่านกล่าวว่า
พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุที่มีขนาดไม่ใหญ่นักนั้น สามารถที่จะลอยน้ำได้
ส่วนการลอยน้ำของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุนั้น จะลอยน้ำโดยที่น้ำจะเป็นแอ่งบุ๋มลงไปรองรับพระบรมสารีริกธาตุไว้
นอกจากนี้อาจปรากฏรัศมีของน้ำรอบๆพระบรมสารีริกธาตุอีกด้วย
ทั้งนี้หากทำการลอยพร้อมๆกันหลายๆองค์ พระบรมสารีริกธาตุจะค่อยๆลอยเข้าหากันและติดกันในที่สุด
ไม่ว่าจะลอยห่างกันสักเพียงใด
นี่เองจึงเป็นเหตุให้มีผู้กล่าวว่า
หากมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดแล้ว หากมีการถวายความเคารพเป็นอย่างดีและเหมาะสมแล้ว
ท่านก็สามารถที่จะดึงดูดองค์อื่นๆให้เสด็จมาประทับรวมกันได้
อย่างไรก็ตาม
ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ได้ห้ามมิให้ทำการทดสอบพระบรมสารีริกธาตุด้วยการลอยน้ำ
โดยถือว่าเป็นการดูหมิ่นคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเหตุการณ์นี้
คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ได้เล่าไว้ในงานเขียนของท่านที่เกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ
และภายหลังท่านจึงได้ทำการขอขมาต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยเหตุนี้
|
หมายเหตุ
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2546 มีรุ่นพี่ท่านหนึ่งที่ได้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์นี้ เธอได้ติดต่อมายังผมและถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเธอ
ขณะที่ได้นำพระบรมสารีริกธาตุไปสรงน้ำ คือเมื่ออัญเชิญท่านลงในน้ำ
ท่านก็จมลงไปยังก้นภาชนะที่ใช้สำหรับสรงท่านทันที เพื่อนๆของเธอที่ดูอยู่จึงถามว่าไหนว่าพระธาตุท่านลอยน้ำมิใช่หรือ
ไหนเล่า? เธอจึงอธิษฐานขอให้ท่านลอย ทันใดนั้นท่านก็ลอยขึ้นมาจากก้นภาชนะนั้น
จะเท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ เห็นว่าแปลกดีและเกิดกับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์นี้ด้วย
ทั้งที่มิเคยได้เห็นหน้าหรือรู้จักกันมาก่อน จึงได้นำมาให้อ่านกัน
next
>>>
|