เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว

ภาพถ่ายพระธาตุ

ระอรหันตธาตุสมัยพุทธกาล**

พระสารีบุตร
สัณฐานกลมเป็นปริมณฑลบ้าง รีเป็นไข่จิ้งจกบ้าง เป็นดังรูปบาตรคว่ำบ้าง พรรณขาวดังสีสังข์ สีพิกุลแห้ง สีหวายตะค้า
พระสารีบุตร
พระโมคคัลลานะ
สัณฐานกลมเป็นปริมณฑลอย่างหนึ่ง รีเป็นผลมะตูมแลเมล็ดทองหลางก็มี แลเมล็ดสวาทก็มี เป็นเมล็ดคำก็มี สีเหลืองเหมือนหวายตะค้าบ้าง สีขาวบ้าง เขียวช้ำในและลายไข่นกบ้าง ร้าวเป็นสายเลือดบ้าง
พระโมคคัลลานะ
พระสีวลี	
มีสัณฐานดังเมล็ดในพุทราอย่างหนึ่ง ผลยอป่าอย่างหนึ่ง เมล็ดมะละกออย่างหนึ่ง วรรณเขียวดังดอกผักตบบ้าง
แดงดังสีหม้อใหม่บ้าง สีพิกุลแห้งบ้าง เหลืองดังหวายตะค้าบ้าง แลขาวดังสีสังข์บ้าง
พระสีวลี
พระองคุลิมาละ   
สัณฐานคอดดังคอสากบ้าง ที่มีรูโปร่งตลอดเส้นผมลอดได้ก็มี พรรณขาวดังสีสังข์ เหลืองดังดอกจำปา สีฟ้าหมอก
พระองคุลิมาละ
พระอัญญาโกณฑัญญะ
สัณฐานงอนช้อยดังงาช้าง พรรณขาวดังดอกมะลิตูมอย่างหนึ่ง เหลืองอย่างหนึ่ง ดำอย่างหนึ่ง
พระอัญญาโกณฑัญญะ
พระอนุรุทธะ
สัณฐานเป็นสามเหลี่ยม พรรณแดงดังสีเลือดนก
พระอนุรุทธะ
พระกัจจายะนะ
สัณฐานดังศีรษะช้าง ดังเบี้ยจั่น พรรณขาวดังสีสังข์ก็มี เหลืองก็มี
พระกัจจายะนะ
พระพิมพาเถรี
สัณฐานแป้งหยด เป็นจั่วสามเหลี่ยม เป็นเล็บมือ เป็นแผ่นกระแจะ พรรณขาวบ้าง เหลืองดังสีลานบ้าง ดำก็มีบ้าง สีดอกพิกุลแห้งบ้าง บางทีมีรูทะลุกลาง บางทีไม่ทะลุเป็นแต่สะดือก็มี
พระพิมพาเถรี
พระสันตติมหาอำมาตย์
สัณฐานดังดอกมะลิตูม พรรณขาวดังสีสังข์
พระสันตติมหาอำมาตย์
พระภัททิยะ
สัณฐานดังกลอง ที่สุดทั้งสองข้างเรียวเล็ก พรรณดังสีดอกพุดตาน
พระภัททิยะ
พระอานนท์
สัณฐานดังใบบัวเผื่อน พรรณดำดังน้ำรักอย่างหนึ่ง สีขาวสะอาดดังสีเงินอย่างหนึ่ง
พระอานนท์
พระอุปปะคุต
สัณฐานหัวคอดท้ายคอด พรรณดังสีดอกพิกุลแห้ง สีเปลือกหอม
พระอุปปะคุต
พระอุทายี
สัณฐานยาวแลคดดังกริช พรรณดังสีดอกบัวโรย สีดอกบานไม่รู้โรย สีดังดอกหงอนไก่ สีดังดอกคำ
พระอุทายี
พระอุตตะรายีเถรี
สัณฐานดังรูปพระควัมปะติ พรรณดังเมฆ สีหมอกฟ้า สีแดงเข้ม
พระอุตตะรายีเถรี
พระกาฬุทายีเถระ
สัณฐานดังลูกหินบด พรรณดังเมฆเกล็ดฟ้า
พระกาฬุทายีเถระ
พระปุณณะเถระ	
สัณฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส พรรณสีขาว สีดอกพิกุลแห้ง
พระปุณณะเถระ
พระอุปะนันทะ
สัณฐานกลมเป็นปริมณฑล พรรณสีเขียว
พระอุปะนันทะ
พระสัมปะฑัญญะ
สัณฐานเท่าหมากสงปอกแล้ว พรรณสีแดง สีขาว
พระสัมปะฑัญญะ
พระจุลลินะเถระ
มีสัณฐานต่างๆ หากำหนดมิได้ พรรณสีดอกจำปา สีกล้วยครั่ง
พระจุลลินะเถระ
พระจุลนาคะ
มีสัณฐานดังดอกดีปลี เป็นปุ่มยาวทบไปทบมาทั่วทั้งองค์ พรรณขาวดังสีสังข์
พระจุลนาคะ
พระมหากปินะ
สัณฐานดังผลชะเอม พรรณขาวแดงข้างอย่างหนึ่ง เขียวข้างแดงข้างอย่างหนึ่ง เหลืองข้างเขียวข้างอีกอย่างหนึ่ง
พระมหากปินะ
พระยังคิกะเถระ
สัณฐานสี่เหลี่ยมแบนเป็นหน้ากระดาน มีรูกลาง พรรณดังสีทองแดง
พระยังคิกะเถระ
พระสุมณะเถระ
สัณฐานดังหอยโข่ง พรรณแดงดังสีชาด ดังสีเสน สีกำมะถัน
พระสุมณะเถระ
พระกังขาเรวัตตะ
สัณฐานกลม งอกกระปุ่มกระป่ำดังภูเขา พรรณเขียวดังสีลูกปัด สีปีกแมลงทับ สีลูกจันทน์อ่อน
พระกังขาเรวัตตะ
พระโมฬียะวาทะ
สัณฐานดังฟองมัน พรรณสีเมฆหมอก สีดำเทา
พระโมฬียะวาทะ
พระอุตระ
สัณฐานดังเมล็ดแตงโม พรรณแดงดังสีเปลือกกรู ดังผลหว้า
พระอุตระ
พระคิริมานันทะ
สัณฐานดังดอกพิกุล พรรณเหลืองแก่ ดังสีขมิ้น สีดอกการะเกด
พระคิริมานันทะ
พระสปากะ
สัณฐานดังผลมะม่วง กลางทะลุเป็นรูตลอด พรรณแดง เหลืองขาว
พระสปากะ
พระวิมะละ
สัณฐานกลมยาว มีรูทะลุตลอดหัวท้าย พรรณสีเขียวสีขาว
พระวิมะละ
พระเวณุหาสะ
สัณฐานดังตาอ้อย พรรณแดงดังสีฝาง สีมะเดื่อสุก
พระเวณุหาสะ
พระอุคคาเรวะ
สัณฐานดังผลกระจับ พรรณดังเมล็ดในทับทิมสุก
พระอุคคาเรวะ
พระอุบลวรรณาเถรี
สัณฐานงอนดังกระดูกสันหลังงู มีรูทะลุกลาง พรรณเหลืองดังเกสรบัว
พระอุบลวรรณาเถรี
พระโลหะนามะเถระ
สัณฐานดังผลฝ้าย พรรณสีเขียว เหลืองแดง เหมือนฟ้า ทับทิม เหมือนดอกลั่นทมอย่างหนึ่ง เหมือนปูนแดงอย่างหนึ่ง
พระโลหะนามะเถระ
พระคันธะทายี
สัณฐานดังวงพระจันทร์ข้างแรม
พระคันธะทายี
พระโคธิกะ
สัณฐานดังลูกข่าง
พระโคธิกะ
พระปิณฑะปาติยะ
สัณฐานเป็นกลีบกนก
พระปิณฑะปาติยะ
พระกุมาระกัสสะปะ
สัณฐานดังคอนนกเขา
พระกุมาระกัสสะปะ
พระภัทธะคู
สัณฐานดังตัว ๒/๑
พระภัทธะคู
พระโคทะฑัตตะ
สัณฐานดังผลมะระ
พระโคทะฑัตตะ
พระอนาคาระกัสสะปะ
สัณฐานเหมือนหอยสังข์
พระอนาคาระกัสสะปะ
พระคะวัมปะติ
สัณฐานเหมือนใบบัวอ่อน
พระคะวัมปะติ
พระมาลียะเทวะ
สัณฐานเหมือนขันครอบ
พระมาลียะเทวะ
พระกิมิละเถระ
สัณฐานเหมือนบัณเฑาะว์
พระกิมิละเถระ
พระวังคิสะเถระ
สัณฐานดังเมล็ดน้อยหน่าตัด
พระวังคิสะเถระ
พระโชติยะเถระ
สัณฐานดังผลลูกจันทน์
พระโชติยะเถระ
พระเวยยากัปปะ
สัณฐานดังทองนั่งเบ้า
พระเวยยากัปปะ
พระกุณฑะละติสสะ  
สัณฐานดังจาวเมล็ดลูกจันทน์
พระกุณฑะละติสสะ
หมายเหตุ
คำบรรยายลักษณะพระธาตุต่างๆนี้เป็นของโบราณ พบปรากฏด้วยกันหลายตำรา คัดลอกสืบต่อกันมา (รายละเอียดในเกร็ดความรู้ด้านล่าง) เมื่อลองเทียบเคียงกับองค์พระธาตุแล้ว พบว่ามีลักษณะแตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยรวมก็สามารถอนุโลมเป็นพระธาตุของท่านนั้นๆได้

พระอรหันตธาตุที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถา
จากการศึกษาเพิ่มเติม พบพระอรหันต์ที่มีการบันทึกลักษณะของพระธาตุอยู่ในคัมภีร์อรรถกถา 3 องค์ ได้แก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ ใน อรรถกถาสารัตถปกาสินี พระสันตติมหาอำมาตย์ ใน อรรถกถาธัมมปทัฏฐกถา และ พระพักกุละ ใน อรรถกถาปปัญจสูทนี ซึ่งมีเพียงพระพักกุละเท่านั้น ที่ไม่พบลักษณะในตำราพระธาตุของโบราณ

พระพักกุละ มีลักษณะดังดอกมะลิตูม
พระพักกุละ

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับตำราพระธาตุ และการจำแนกพระธาตุ

.........."ตำราพระธาตุ" เป็นตำราเก่าแก่โบราณ บันทึกลักษณะสัณฐานของพระอรหันตสาวกธาตุ ทั้งก่อนและหลังพุทธปรินิพพานไม่นาน ไม่ทราบประวัติผู้บันทึกและความเป็นมา โดยทั่วไปมักใช้ลักษณะสัณฐานที่มีการบันทึกภายในตำรา ในการจัดจำแนกพระธาตุ ซึ่งตำรานี้นิยมเรียกสั้นๆว่า "ตำราพระธาตุของโบราณ" ในเมืองไทยปรากฏหลักฐานว่าพบด้วยกัน 4 ฉบับ โดยจะเรียกชื่อตำราตามผู้ที่เป็นเจ้าของตำรา ได้แก่
..........
..........1. ตำราพระธาตุของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา
....................2. ตำราพระธาตุของคุณบุญช่วย สมพงษ์ อดีตอธิบดีกรมศาสนา *แพร่หลายมากที่สุด
....................3. ตำราพระธาตุของนายแพทย์เกิด บุญปลูก
....................4. ตำราพระธาตุของนางเสรษฐสมิธ (ผอบ นรเสรษฐสมิธ)
..........การจัดจำแนกว่าพระธาตุองค์นั้นๆเป็นขององค์ใด มีวิธีการจำแนกอยู่ 2 วิธี คือ การจำแนกตามลักษณะที่มีบันทึกในตำราพระธาตุของโบราณ และ การตรวจดูด้วยสมาธิ ซึ่งทั้ง 2 วิธีมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน จึงทำให้บางท่านใช้ทั้ง 2 วิธีการร่วมกัน
..........มีผู้ให้ข้อสังเกตและสันนิษฐานว่า พระธาตุที่ได้รับการจัดจำแนกชื่อแล้ว อาจจะไม่ใช่ขององค์นั้นๆก็ได้ เนื่องจากพระอริยสาวกที่มีเป็นจำนวนมากนั่นเอง ทำให้มีลักษณะของพระธาตุที่หลากหลาย เหมือนหรือแตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะไม่ใช่พระธาตุของท่านนั้นๆ ก็่อาจเป็นพระธาตุของพระสาวกที่มีคุณสมบัติโดดเด่นใกล้เคียงกัน หรือเป็นลูกศิษย์ของท่าน ในสายนั้นๆก็เป็นได้

พระสาวกธาตุสมัยโบราณ

พระพุทธสาวกธาตุ
พบภายในกรุวัดแห่งหนึ่ง ในเขต
อ.เชียงของ จ.เชียงราย
พระพุทธสาวกธาตุ
พบที่วัดร้าง จ.เชียงราย
ภายในผอบทรงเจดีย์ ที่ผลิตจากเตาวังเหนือ จ.ลำปาง
พระพุทธสาวกธาตุ
พบที่วัดใน จ.สุโขทัย ภายในผอบที่ผลิตจาก
เตาป่ายาง อ.ศรีสัชชนาลัย จ.สุโขทัย
พระพุทธสาวกธาตุ
พบภายในตลับเงินที่ขุดเจอบนเนินดิน
อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
พระพุทธสาวกธาตุ
พบที่ จ
.ประจวบคีรีขันธ์
พระพุทธสาวกธาตุ
พบภายในกรุสมัยศรีวิชัย
พระพุทธสาวกธาตุ
พบภายในกรุ จ
.ตาก
พระพุทธสาวกธาตุ
วัดบางน้ำผึ้งใน ต.บางน้ำผึ้ง
อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
พระพุทธสาวกธาตุ
พบภายในกรุสันป่าตอง จ
.เชียงใหม่
พระพุทธสาวกธาตุ
พบภายในกรุสันป่าตอง จ
.เชียงใหม่

next >>>

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2554 @ http://www.relicsofbuddha.com