เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้าภาพถ่ายพระธาตุพระอรหันตสมัยพุทธกาล

พระอรหันตธาตุสมัยพุทธกาล**

พระพักกุละ

"พระพักกุละุ พระธาตุมีลักษณะดังดอกมะลิตูม"

ประวัติ พระพักกุละหรือพระพากุละ,เอตทัคคมหาสาวกผู้มีอาพาธน้อย

พระพากุละถือปฏิสนธิในเรือนเศรษฐีกรุงโกสัมพี ในวรรณะไวศยะ ก่อนพระพุทธเจ้าของเราบังเกิด ตั้งแต่วันที่ เขาถือปฏิสนธิ สกุลเศรษฐีนั้นก็ประสบลาภอันเลิศ ยศอันเลิศ ครั้งนั้น มารดาของเขาคลอดบุตรแล้วคิดว่าเด็กคนนี้มีบุญ กระทำบุญไว้แต่ก่อน เป็นผู้ไม่มีโรค อายุยืน ยังดำรงอยู่ตลอดกาลเท่าใด ก็จักเป็นผู้ให้สมบัติแก่เราตลอดกาลเพียงนั้น ก็เด็ก ทั้งหลายที่อาบน้ำในแม่น้ำยมุนา ในวันเกิดนั่นแล ย่อมเป็นผู้ไม่มีโรค จึงส่งเด็กนั้นไปอาบน้ำ

ทายาทของสองตระกูล

ท่านอาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์มัชฌิมนิกายกล่าวว่า นางให้อาบศีรษะในวันที่ ๕ แล้วส่งเด็กนั้นไปเล่นน้ำ ณ ที่นั้น เมื่อพี่เลี้ยงนางนมกำลังให้เด็กเล่นดำลงโผล่ขึ้น ปลาตัวหนึ่งเห็นเด็กนั้นสำคัญว่าเหยื่อ ก็อ้าปากคาบเอาไป พี่เลี้ยงนางนม (ตกใจ) ก็ทิ้งเด็กหนีไป ปลาก็กลืนเด็กนั้น สัตว์มีบุญ ไม่ประสบทุกข์ ก็เหมือนเข้าห้องนอนแล้วนอน ด้วยเดชะบุญของเด็ก ปลาก็เหมือนกลืนภาชนะที่ร้อนก็เร่าร้อน ก็ว่ายไปโดยเร็วถึง ๓๐ โยชน์ เข้าไปติดอวนของประมงชาวกรุงพาราณสี ธรรมดาปลาใหญ่ติดอวนย่อมตาย แต่เดชะบุญของเด็ก ปลาตัวนี้พอเขาปลอดจากอวนจึงตาย ประมงทั้งหลายได้ปลาตายย่อมชำแหละขาย ใช้คานหามไปทั้งตัว เที่ยวตระเวนไปในกรุง บอกว่า เอาทรัพย์มาพันหนึ่ง และให้ปลาตัวนี้ ใคร ๆ ก็ไม่ซื้อ.

ในกรุงนั้น มีสกุลเศรษฐีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ พวกประมงถึงใกล้ประตูเรือนสกุลเศรษฐีนั้น ถูกเศรษฐีถามว่า พวกท่านเอาอะไร จึงจะให้ จึงตอบว่า เอากหาปณะ พวกเขาให้กหาปณะแล้วรับเอาปลาไปภริยาเศรษฐี เล่นกับปลาในวันอื่น ๆ แต่วันนั้น วางปลาไว้บนเขียงชำแหละด้วยตนเอง ธรรมดาคนทั้งหลาย ย่อมชำระปลาทางท้อง แต่ภริยาเศรษฐีนั้น ชำแหละทางข้างหลัง เห็นเด็กมีผิวดังทองในท้องปลา ก็ส่งเสียงลั่นว่า เราได้บุตรในท้องปลา จึงพาเด็กไปหาสามีใน ทันทีนั้นเอง เศรษฐีก็ให้ตีกลองป่าวร้อง แล้วพาเด็กไปสำนักพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระบาทได้เด็กในท้องปลา ข้าพระบาทจะทำอย่างไร พระราชารับสั่งว่าเด็กนี้มีบุญ อยู่ในท้องปลาก็ไม่มีโรค ท่านจงเลี้ยงไว้

สกุลอีกสกุลหนึ่งได้ยินว่า เขาว่า สกุลเศรษฐีสกุลหนึ่ง ในกรุงพาราณสีได้เด็กในท้องปลา เศรษฐีสามีภริยานั้นก็พาไปกรุงพาราณสี ลำดับนั้น มารดาของเด็กนั้น เห็นเด็กแต่งตัวเล่นหัวอยู่ ก็ถามว่า เด็กคนนี้ถูกใจจริงหนอ จึงบอกเรื่องนั้น มารดาอีกคนหนึ่งกล่าวว่า บุตรของเราน่ะ ถามว่า ท่านได้บุตรที่ไหน ตอบว่า ในท้องปลา มารดาเดิมบอกว่า ก็ไม่ใช่บุตรของท่าน เป็นบุตรของเรา ถามว่าท่านได้มาอย่างไร ตอบว่า เราอุ้มท้องมาถึง ๑๐ เดือน ครั้งนั้น เด็กกำลังเล่นน้ำในแม่น้ำ ปลาก็ฮุบเด็กไป มารดาอีกคนหนึ่งบอกว่า บุตรของท่าน คงจักเป็นปลาตัวอื่นฮุบเอาไป ส่วนเด็กคนนี้ เราได้ในท้องปลา แม่ทั้งสองฝ่ายก็พากันไปยังราชสกุล พระราชาตัดสินว่า หญิงผู้นี้ไม่เป็นมารดามิอาจจะทำได้ เพราะอุ้มท้องมาถึง ๑๐ เดือน พวกประมงถึงจับปลาได้ ชื่อว่า จับได้แต่ภายนอก มีตับไตเป็นต้นก็ไม่มี แม้หญิงผู้นี้ไม่เป็นมารดา ก็ไม่อาจทำได้เพราะได้เด็กในท้องปลา เพราะฉะนั้นเด็กจงเป็นทายาทของทั้งสองสกุล

นับแต่นั้นมา สกุลทั้งสองก็ประสบลาภอันเลิศยศอันเลิศอย่างยิ่ง จึงพากันขนานนามท่านว่า พากุลกุมาร เพราะสกุลทั้งสองเลี้ยงให้เติบโต เมื่อท่านรู้ความแล้ว สกุลทั้งสองก็สร้างปราสาท ๓ หลังไว้ในนครทั้งสอง จักนาฏกะ นักฟ้อนรำไว้ท่านอยู่ ๒ เดือนในนครหนึ่ง ๆ อยู่ครบ ๔ เดือนแล้ว เขาสร้างมณฑป ไว้บนเรือขนาน ให้ท่านกับเหล่านาฏกะลงไปอยู่ในมณฑปนั้น ท่านเสวยสมบัติอยู่ก็ไปยังอีกนครหนึ่ง ๔ เดือน เหล่านาฏกะชาวนครออกไป ต้อนรับท่านด้วยคิดว่าท่านจักมาครึ่งทาง ๒ เดือน แล้วห้อมล้อมท่านนำไปยังนครของตนอีก ๒ เดือน เหล่านาฏกะอีกพวกหนึ่ง ก็กลับไปนครของตน ท่านอยู่ในนครนั้น ๒ เดือนแล้วก็ไปยังอีกนครหนึ่ง โดยทำนองนั้นนั่นแล ท่านเสวยสมบัติอย่างนี้ ๘๐ ปีบริบูรณ์

มีศรัทธาออกบวช

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริกมาโดยลำดับ ถึงกรุงโกสัมพี พระมัชฌิมภาณกาจารย์ว่า กรุงพาราณสี แม้พากุลเศรษฐี สดับข่าวว่า พระทศพลเสด็จมาแล้ว จึงถือเอาของหอมและมาลัยไปสำนักพระศาสดาฟังธรรม ได้ศรัทธาก็บวช ท่านเป็นปุถุชนอยู่ ๗ วัน อรุณวันที่ ๘ ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ครั้งนั้น พวกหญิงแม่บ้านที่ท่านสร้างสมไว้ครั้งเป็นคฤหัสถ์ในนครทั้งสอง ก็กลับไปเรือนสกุลของตน อยู่ในเรือนสกุลนั้นนั่นแหละ ทำจีวรส่งไปถวายพระเถระใช้สอยจีวรผืนหนึ่ง ที่ชาวกรุงโกสัมพีส่งไปถวาย ครึ่งเดือน จีวรผืนหนึ่ง ที่ชาวกรุงพาราณสีส่งไปถวาย ครึ่งเดือน โดยทำนองนี้ นี่แล ชาวนครก็นำจีวรแต่ชนิดสุดยอด ในนครทั้งสองมาถวายแต่พระเถระรูปเดียว พระเถระครองเรือน ๘๐ ปี อาพาธเจ็บป่วยไร ๆ ก็มิได้มีตลอดกาล แม้เพียงใช้ ๒ นิ้วจับก้อนของหอมสูดดม ในปีที่ ๘๐ ก็เข้าบรรพชาโดยสะดวกดาย ท่านแม้บวชแล้ว อาพาธแม้เล็กน้อยหรือความขาดแคลนด้วยปัจจัย ๔ มิได้มีเลย แม้สมัยปรินิพพาน ในปัจฉิมกาล ท่านก็กล่าวพากุลสูตรทั้งสิ้น โดยแสดงสุขที่เป็นทางกายและทางใจของตน แก่อเจลกัสสปะ สหายเก่าครั้งเป็นคฤหัสถ์ แล้วก็ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ตั้งขึ้นดังกล่าวมาฉะนั้น

ได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะผู้มีอาพาธน้อย

ส่วนพระศาสดาสถาปนาพระเถระทั้งหลายไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ก็ทรงสถาปนาท่านพระพากุลเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้มีอาพาธน้อยในพระศาสนานี้ ครั้งพระเถระยังมีชีวิตอยู่แล. เป็นผู้มีอายุ ๘๐ ปี ปรากฏมีชื่อว่า อุภยเศรษฐีบุตร เขาได้ไปยังสำนักของพระศาสดาฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้วพยายามอยู่ตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๘ ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔.

เป็น 1 ใน 4 พระสาวกที่ระลึกชาติได้หนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป

ได้ทราบว่า ความจริงสำหรับพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มีผู้ที่สำเร็จอภิญญาใหญ่ได้ ๔ ท่าน สาวกที่เหลือหาสำเร็จไม่ เพราะสาวกที่เหลือย่อมสามารถระลึกชาติได้ตลอดแสนกัปเท่านั้น ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นระลึกไม่ได้. แต่ท่านผู้บรรลุอภิญญาใหญ่ย่อมระลึกชาติได้อสงไขยหนึ่งยิ่งด้วยแสนกัป. ในศาสนาของพระศาสดาแม้ของพวกเรา ชน ๔ ท่านเหล่านี้คือ พระสารีบุตรมหาเถระ พระมหาโมคคัลลานะเถระ พระพากุลเถระ และพระนางภัททากัจจานาเถรี (พระนางยโสธราพิมพา) สามารถระลึกชาติได้ประมาณเท่านี้. ครั้นท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ระลึกถึงบุรพกรรมของตน ได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน พระพากุลเถระนั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้รับยกย่องมีชีวิตอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่วิมุตติ เป็นผู้มีอายุ ๑๖๐ ปี จึงได้ปรินิพพาน ด้วยการนั่งเข้าเตโชสมาบัติท่ามกลางพระสงฆ์ แล้วอธิษฐานให้เกิดไฟลุกไหม้ร่างกายของท่านหลังจากที่ท่านปรินิพพานแล้ว.

ตัดทอนจาก http://84000.org

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com