Quick
link : บูชาพระธาตุ,
อัญเชิญพระธาตุ |
บทบูชาพระธาตุ
สรงน้ำพระธาตุ
การสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ
และ พระธาตุ เป็นประเพณีความเชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณ ที่นิยมกระทำเป็นประจำทุกปี
เปรียบเสมือนการได้สรงน้ำพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ทั้งหลาย โดยทั่วไปจะกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
หรือ วันงานเทศกาลประจำปี เช่น สงกรานต์ เป็นต้น และวิธีปฏิบัติในการสรงน้ำ
ก็จะแตกต่างกันไป แล้วแต่ความเชื่อและความศรัทธาของแต่ละท้องที่นั้นๆ
หรือ แล้วแต่บุคคล
เมื่อได้ประมวลวิธีการต่างๆตามที่ได้พบเห็นมา
มีด้วยกัน 2 ลักษณะ ดังนี้
1.สรงน้ำองค์พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุโดยตรงวิธีนี้แบ่งออกได้เป็น
2 วิธีการ คือ
1.1
อัญเชิญองค์พระธาตุลงบนผ้าขาวบาง ซึ่งขึงอยู่บนปากภาชนะรองรับน้ำ
ทำการสรงน้ำโดยค่อยๆรดสรงลงบนองค์พระธาตุ วิธีการนี้น้ำจะไหลผ่านองค์พระธาตุ
ซึมลงสู่ผ้าขาวและไหลรวมสู่ภาชนะที่รองรับด้านล่าง
1.2
ใส่น้ำที่จะใช้สำหรับสรงองค์พระธาตุ ลงในภาชนะ ค่อยๆช้อนองค์พระธาตุลงในภาชนะ
เมื่อสรงเสร็จแล้วจึงอัญเชิญขึ้นจากน้ำ (*
สำหรับวิธีนี้ ไม่ให้สนใจว่าองค์พระธาตุจะลอยหรือจม เพราะไม่ใช่การลอยน้ำทดสอบพระธาตุ
ซึ่งอาจเข้าข่ายปรามาสองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระสาวกองค์นั้นๆได้)
วิธีการที่
1.1 |
วิธีการที่
1.2 |
ทั้งนี้
เมื่อทำการสรงน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พึงอัญเชิญองค์พระธาตุขึ้น
แล้วซับให้แห้ง ก่อนจะอัญเชิญบรรจุลงในภาชนะตามเดิม
2.สรงน้ำภาชนะหรือสถานที่บรรจุองค์พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุ
วิธีการนี้นิยมใช้สำหรับสรงน้ำพระบรมธาตุเจดีย์โดยทั่วไป, เจดีย์บรรจุพระธาตุที่ปิดสนิท
หรือ ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ในกรณีที่มีผู้ร่วมสรงน้ำเป็นจำนวนมาก
โดยการตักน้ำที่ใช้สำหรับสรง ราดไปบนพระเจดีย์
|
น้ำที่ใช้ในการสรง
น้ำที่นำมาใช้ในการสรงพระบรมสารีริกธาตุ
และ พระธาตุนั้น มีวิธีการเตรียมคล้ายกับการเตรียมน้ำ เพื่อใช้สำหรับสรงน้ำพระพุทธรูป
ซึ่งการจะเลือกใช้แบบใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อและเหตุผลของแต่ละบุคคล
รวมถึงความสะดวกในการจัดหาด้วย เมื่อทำการสรงเสร็จแล้ว น้ำที่ผ่านการสรงองค์พระธาตุ
นิยมนำมาประพรมเพื่อเป็นสิริมงคล เสมือนหนึ่งน้ำพระพุทธมนต์
ซึ่งน้ำที่ใช้ในการสรงพระบรมสารีริกธาตุ
และ พระธาตุนั้น แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. น้ำสะอาดบริสุทธิ์
............มีผู้อธิบายว่า
สาเหตุที่ต้องใช้น้ำบริสุทธิ์ในการสรงน้ำองค์พระธาตุนั้น เนื่องจากว่า
องค์พระธาตุนั้น เกิดมาแต่ผู้บริสุทธิ์ ธาตุเหล่านั้นจึงเป็นของบริสุทธิ์
ไม่สมควรจะเอาสิ่งใดๆก็ตาม เจือปนลงไปแปดเปื้อนองค์พระธาตุ แต่อีกเหตุผลกล่าวว่า
ในน้ำหอมหรือดอกไม้ อาจมีสารใดๆก็ตามเจือปน จนอาจทำให้องค์พระธาตุหมองลงได้
2. น้ำสะอาดเจือด้วยสิ่งบูชา
............น้ำลักษณะนี้นิยมใช้สรงน้ำพระธาตุโดยทั่วไป
นัยว่าได้ถวายเป็นอามิสบูชาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ
พระอรหันตสาวกทั้งปวง ซึ่งสิ่งบูชาที่เจือลงในน้ำก็แล้วแต่ความชอบ
และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น น้ำหอม น้ำอบ ดอกไม้ กลีบดอกไม้
ฝักส้มป่อย หรือ แก่นไม้จันทน์ฝน เป็นต้น
คำอาราธนาพระธาตุออกสรงน้ำ
โย สนฺนิสินโน วรโพธิมูเล
มารํ สเสนํ สุชิตํ วิเชยฺย
สมฺโพติมาคจฺฉิ อนนฺตญาโณ โลกุตฺตโม ตํ ปณมามิ พุทธํ
สาธุ
โอกาสะ ข้าแต่องค์พระมหาชินธาตุเจ้า วันนี้ก็เป็นวันดีดิถีอันวิเศษ
เหตุว่าสมณะศรัทธาและมูละศรัทธาผู้ข้าทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก
ภายในอันมี.................. ภายนอกมี.....................
(ถ้าจะออกชื่อประธานในที่นั้นก็ให้เติมเข้า ภายในหมายถึงบรรพชิต
ภายนอกคือคฤหัสถ์) ก็ได้ขวนขวายตกแต่งน้อมนำมา ยังทีปบุปผาลาชาดวงดอก
ข้าวตอกดอกไม้และลำเทียน เพื่อจักว่าขอนิมันตนายังองค์พระมหาชินธาตุเจ้า
เสด็จออกไปอาบองค์สรงสระ วันสันนี้แท้ดีหลี (ถ้านิมนต์ไปด้วยเหตุใดที่ไหน
ก็ให้เปลี่ยนไปตามเรื่องที่นิมนต์ไป) ขอองค์พระมหาชินธาตุเจ้า
จงมีธรรมเมตตาเอ็นดูกรุณา ปฏิคคหะรับเอายังทีปบุปผาลาชาดวงดอก
ข้าวตอกดอกไม้และลำเทียนแห่งสมณะศรัทธา และมูลศรัทธา ผู้ข้าทั้งหลายว่าวันสันนี้แท้ดีหลี
อิทํ
โน ทีปปุปผาลาชทานํ นิมตฺตนํ นิพฺพานปจฺจโย นิจฺจํฯ
|
คำขอโอกาสสรงน้ำพระธาตุ
(ก่อนจะสรงน้ำพระธาตุให้ยกขันน้ำหอมขึ้นใส่หัว
แล้วผู้เป็นหัวหน้าว่าคำขอโอกาสดังนี้)
โย
สนฺนิสินโน วรโพธิมูเล มารํ สเสนํ สุชิตํ วิเชยฺย
สมฺโพติมาคจฺฉิ อนนฺตญาโณ โลกุตฺตโม ตํ ปณมามิ พุทธํ
สาธุ
โอกาสะ ข้าแต่องค์พระมหาชินธาตุเจ้า วันนี้ก็เป็นวันดีดิถีอันวิเศษ
เหตุว่าสมณะศรัทธาและมูลศรัทธาผู้ข้าทั้งหลาย ก็ได้ขวนขวายตกแต่งน้อมนำมา
ยังทีปบุปผาลาชาดวงดอก ข้าวตอกดอกไม้ ลำเทียนและน้ำสุนโธทกะ
เพื่อว่าจะมาขออาบองค์สระสรงยังองค์พระมหาชินธาตุเจ้าว่า สันนี้แท้ดีหลี
โดยดั่งผู้ข้าจักเวนตามปาฐะ
สาธุ
โอกาส มยํ ภนฺเต ทีปปุผาลาชทานํ อเภขฺขอสาธารณ
สพฺพโลกิยโลกุตฺตร มคฺคผล นิพฺพานปจฺจโยโหตุ โน นิจฺจํ ฯ |
next>>>
|