เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว

Quick link : พระธาตุปาฏิหาริย์ | ลักษณะการเกิด | ประสบการณ์พระธาต

พระธาตุปาฏิหาริย์

พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุนั้น เป็นปูชนียวัตถุที่มีเทวดารักษา สามารถแสดงปาฏิหาริย์ เช่น การเพิ่มและลดจำนวนได้เอง การเรืองแสง เปล่งแสงในที่มืด การเสด็จลอยวนสถานที่บรรจุ การเสด็จผ่านอากาศไปในทิศต่างๆ เปลี่ยนแปลงสีและรูปร่างได้เอง ฯลฯ

การเกิดของพระธาตุนั้น จะว่าไปก็เป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง คือ กระดูกที่เผาไฟแล้วก็ดี หรือยังไม่เผาไฟก็ดี สามารถแปรเปลี่ยนเป็นผลึก รูปร่างต่างๆ สีสันสวยงาม คล้ายกรวด คล้ายแก้ว ไม่เพียงแต่กระดูกเท่านั้น ผม เล็บ ฟัน หรือ แม้กระทั่งชานหมากของท่านเหล่านั้น ก็พบว่าสามารถแปรเป็นพระธาตุได้เช่นกัน

อัฐิพระสงฆ์ในยุคปัจจุบัน ที่สามารถแปรเป็นพระธาตุนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลายรูป แต่ละรูปก็มีลักษณะของพระธาตุจำนวนมากมาย ทรงไว้ด้วยความน่าอัศจรรย์ใจ ดังเช่นการเพิ่มหรือลดจำนวนได้เอง การเปล่งแสง การเปลี่ยนแปลงลักษณะ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ในเมื่ออัฐิพระสงฆ์ในยุคปัจจุบันยังสามารถแปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุ เพิ่มหรือลดจำนวนเองได้ แล้วพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระธาตุแห่งองค์พระอสีติมหาสาวก จะยิ่งมิทรงไว้ซึ่งความน่าอัศจรรย์ยิ่งกว่านี้อีกหรือ

ลักษณะการเกิด

การบังเกิดขึ้นของพระธาตุจากส่วนต่างๆนั้น คุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต ได้สังเกตและจดบันทึกเป็นขั้นตอน ดังนี้

การแปรพระธาตุจากผงอังคาร
พระธาตุที่พบในอังคารหลวงปู่กอง จันทวังโส 
วัดสระมณฑล จ.อยุธยา ภายหลังจากฌาปณกิจ
เพียงไม่นาน พบจำนวนมาก
พระธาตุหลวงปู่กอง จันทวังโส
วัดสระมณฑล จ.อยุธยา
  1. ผงอังคาร (ถ่าน)
  2. มีจุดเล็กเหมือนไข่ปลา สีขาวเทาเกิดขึ้น
  3. ไข่ปลานั้นเริ่มโตขึ้น สีเทาดำ
  4. สีเทาดำ เริ่มขาวขึ้น พระธาตุมีขนาดใหญ่ขึ้น
  5. องค์พระธาตุสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งจะเข้าลักษณะเมล็ดข้าวโพด

การแปรเป็นพระธาตุจากอัฐิ
ชิ้นอัฐิที่กำลังแปรสภาพเป็นพระธาตุ 
โดยทางซ้าย (สีขาว) เป็นชิ้นอัฐิตามปกติ 
ส่วนที่อยู่ทางขวา (สีเทา) ในชิ้นเดียวกัน คือ 
พระธาตุ ที่เกิดจากฟองกระดูกมีการหดตัว 
แล้วแปรสภาพเป็นผลึก
ชิ้นอัฐิที่กำลังแปรเป็นพระธาตุ

ชิ้นอัฐิที่แปรสภาพเป็นพระธาตุเกือบสมบูรณ์
พระธาตุที่แปรสภาพจากอัฐิ
หลวงปู่เข่ง โฆษธัมโม
วัดป่าสีห์พนม จ.สกลนคร
  1. กระดูกตามธรรมชาติ
  2. กระดูกเริ่มแปรเป็นพระธาตุแยกเป็น 2 ลักษณะ
   
2.1 กระดูกที่มีลักษณะเป็นฟองกระดูกเป็นรูพรุน ฟองกระดูกเริ่มหดตัว รวมตัวเข้าเป็นผลึก ฟองกระดูกบางส่วนจะยังคงสภาพอยู่
   
2.2 กระดูกที่เป็นขิ้นยาว แนวเยื่อกระดูกที่เห็นเป็นเส้นบางๆ ต่อไปจะแปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุตามแนวเส้น จะเกิดผลึกขยายขึ้นจนเต็มองค์
  3. สภาพใกล้เป็นพระธาตุมากขึ้น
   
3.1 พระธาตุลักษณะนี้แปรสภาพจาก 2.1 ส่วนที่เป็นผลึกหินปูนจะมากขึ้น ส่วนที่เห็นเป็นฟองกระดูกจะน้อยลง ลักษณะเริ่มมน มีสัณฐานกลม รี เมล็ดข้าวโพด เห็นส่วนฟองกระดูกติดเพียงเล็กน้อย
   
3.2 พระธาตุลักษณะนี้ มักจะคงรูปกระดูกเดิมไว้ โดยแปรจาก 2.2 เยื่อกระดูกที่เกาะเป็นผลึกหินปูนจะขยายตื้นขึ้นจนเกือบเต็มรูพรุนกระดูก ประมาณเห็นส่วนกระดูกเหลือเพียง 10-20%
  4. เป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์

ลักษณะการแปรเป็นพระธาตุจากเกศา
เกศาหลวงปู่สนั่น รักขิตสีโล
วัดป่าสุขเกษมนิราศภัย
จ.สกลนคร
  1. เส้นเกศาตามธรรมชาติ
  2. เส้นเกศาหย่งตัวขึ้นและมารวมตัวกันเข้า ติดกันเป็นแพเล็กๆ
  3. แพเหล่านั้นจะรวมเป็นก้อน
  4. เริ่มลักษณะเป็นพระธาตุ สีน้ำตาลอ่อนคล้ายพิกุล
  5. เป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์ สีพิกุลแห้ง หรือ นวล

นอกจากนี้ การเกิดพระธาตุจากอัฐินอกเหนือจากที่คุณหญิงสุรีพันธ์บันทึกไว้นั้น ยังมีอีก 2 ลักษณะ ที่มีผู้สังเกตไว้ดังนี้


อัฐิพระสุพรหมยานเถร
วัดพระพุทธบาทตากผ้า
จ.ลำพูน
ลักษณะการแปรเป็นพระธาตุจากอัฐิ
1. อัฐิตามธรรมชาติ
2. เกิดองค์พระธาตุผุดขึ้นมาจากชิ้นอัฐิ
3. องค์พระธาตุมีขนาดใหญ่ขึ้น
4. หลุดออกมาเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์

อัฐิท่าน อ.ประยุทธ์ ธัมยุทโต
วัดป่าผาลาด จ.กาญจนบุรี

ลักษณะการเกิดพระธาตุขณะฌาปนกิจ พระธาตุพระสิทธิสารโสภณ
วัดอาวุธวิกสิตาราม
จ.กรุงเทพฯ
  1. สภาพศพตามธรรมชาติ เมื่อทำการเผา
  2. เกิดวัตถุธาตุส่องแสงเป็นประกายหยดออกมาจากร่างกาย
  3. เมื่อกระทบกับสิ่งที่รองรับก็กลิ้งกระจายออกเป็นขนาดต่างๆ
  4. กลายเป็นพระธาตุโดยสมบูรณ์
หมายเหตุ การเกิดพระธาตุลักษณะนี้ มีผู้บันทึกไว้เพียง 2 ท่าน ได้แก่ พระสิทธิสารโสภณ (สงวน โฆสโก) และ อุบาสิกา บุญเรือน โตงบุญเติม

ส่วนการเกิดพระธาตุอีกลักษณะหนึ่ง เป็นการเกิดขึ้นของพระธาตุที่เกิดจากพระธาตุด้วยกันเอง คือการแบ่งหรือแตกออกจากพระธาตุองค์เดิม จำแนกตามคำบอกเล่าของผู้ที่พบเห็นออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

ลักษณะงอกจากพระธาตุองค์เดิม
  1. พระธาตุลักษณะปกติ
  2. เกิดองค์พระธาตุผุดขึ้นมาจากผิวพระธาตุองค์เดิม
  3. พระธาตุองค์ใหม่มีขนาดใหญ่ขึ้น
  4. หลุดออกมาเป็นพระธาตุอีกองค์โดยสมบูรณ์

พระบรมสารีริกธาตุ
ที่มียังคงมีลักษณะติดกันอยู่

ลักษณะแบ่งจากพระธาตุองค์เดิม
  1. พระธาตุลักษณะปกติ
  2. องค์พระธาตุเดิมมีลักษณะคอดเข้าขององค์พระธาตุ
  3. รอยคอดหดเข้ามาใกล้กันมากขึ้น
  4. หลุดออกมาเป็นพระธาตุ 2 องค์โดยสมบูรณ์


พระบรมสารีริกธาตุ
วัดถ้ำแสงแก้ว จ.สระแก้ว



พระธาตุพระสีวลี
ลักษณะแตกออกจากพระธาตุองค์เดิม
1. พระธาตุลักษณะปกติ
2. พระธาตุแตกหรือหักออกจากบางส่วนขององค์พระธาตุเดิม
3. พระธาตุองค์ใหม่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือรอยแตกมีลักษณะกลมมน
* มักพบการเกิดพระธาตุลักษณะนี้ในพระธาตุพระสีวลี


และอีกลักษณะหนึ่งซึ่งพบกันมาก คือ การที่พระธาตุเสด็จมาประทับรวมกับอัฐิ เหรียญ หรือ รูปหล่อเคารพของครูบาอาจารย์เอง จึงอาจจะเรียกวิธีนี้ว่า ปาฏิหาริย์

พระธาตุที่เกิดขณะที่ท่านยังมีชีวิต

สำหรับพระสงฆ์ที่ยังไม่ดับขันธ์ก็สามารถพบว่าเกิดพระธาตุได้เช่นกัน ที่มีประจักษ์พยานชัดเจน เช่น กรณีของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ที่ได้ทำการผ่าตัดกระดูกสะบ้าหัวเข่า พบว่ากระดูกสะบ้าหัวเข่าท่านกลายเป็นพระธาตุแล้ว

ลักษณะการพบพระธาตุขณะท่านยังมีชีวิตอยู่
พระธาตุแปรสภาพจาก
ชานหมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
  1. การผ่าตัดเปลี่ยนกระดูก แล้วกระดูกที่ออกมาพบว่าเป็นพระธาตุ
  2. เกศาที่ปลงไว้ แปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุ
  3. เล็บที่ตัดแปรเป็นพระธาตุ
  4. ฟันที่หลุด หรือ ถอน กลายเป็นพระธาตุ
  5. ชานหมากหรือน้ำหมากที่ท่านเคี้ยว ตกผลึกเป็นพระธาตุ
  6. มีพระธาตุเสด็จไปประทับรวมกับรูป ล๊อกเก็ต หรือ รูปเหมือนของท่านเอง

next>>>

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2554 @ http://www.relicsofbuddha.com