เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้าภาพถ่ายพระธาตุพระอรหันตสมัยพุทธกาล

พระอรหันตธาตุสมัยพุทธกาล**

พระวังคิสะเถระ

"พระวังคิสะเถระ สัณฐานดังเมล็ดน้อยหน่าตัด"

ประวัติ พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ

พระวังคีสะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ นครสาวัตถี ได้รับการศึกษาจบไตรเพท จนมีความชำนาญเป็นที่พอใจของอาจารย์ จึงให้เรียนมนต์พิเศษอีกอย่างหนึ่งชื่อว่า “ฉวสีสมนต์” ซึ่งเป็นมนต์เครื่องพิสูจน์ศีรษะซากศพมนุษย์แม้จะตายไปแล้วถึง ๓๐ ปี โดยใช้นิ้วเคาะหรือดีดที่หัวของศพ หรือกะโหลก ก็จะรู้ว่าเจ้าของศีรษะหรือกะโหลกนั้น ตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร เกิดที่ไหน ท่านมีความเชี่ยวชาญในมนต์นี้มาก จึงได้อาศัยมนต์นี้เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต และเริ่มมีชื่อเสียงเลื่องลือมากขึ้น

รับจ้างดีดกะโหลก


ต่อมาเขาได้ตั้งเป็นคณะมีผู้ร่วมงานทำกันเป็นระบบ มีการโฆษณาชักชวนให้คนมาใช้บริการ และตระเวนทั่วไปตามเมืองต่าง ๆด้วยวิธีการอย่างนี้ประชาชนได้นำหัวกะโหลกของญาติที่ตายไปแล้วมาให้พิสูจน์กันมากมาย ชาวคณะของวังคีสะได้รับสิ่งตอบแทนมากขึ้น ซึ่งมีทั้งสิ่งของ อาหาร และเงินจำนวนมาก ทำให้มีฐานะร่ำรวยขึ้น พวกเขาได้ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่าง ๆ แล้วย้อนกลับมายังเมืองสาวัตถี พักอยู่ในที่ไม่ไกลจากประตูพระเชตะวันมหาวิหารมากนัก ได้เห็นประชาชนถือดอกไม้และเครื่องสักการะไปยังวัดพระเชตวัน จึงถามว่า “ท่านทั้งหลาย จะไปไหนกัน ?”“พวกเรา จะไปฟังเทศน์ที่วัดพระเชตวัน” พุทธบริษัทตอบ“ท่านทั้งหลาย มาหาวังคีสะดีกว่า เพราะท่านสามารถรู้ว่าคนที่ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นอะไร ไปเกิดที่ไหน” พวกคณะของวังคีสะชักชวน “ในโลกนี้ ไม่มีผู้ใดจะรู้เท่าเทียมพระพุทธเจ้าของพวกเราได้หรอก” พุทธบริษัทแย้งขึ้นการโต้ตอบกลายเป็นการโต้เถียงเริ่มรุนแรงขึ้น ไม่เป็นที่ยุติ กลุ่มของวังคีสะ จึงตามไปที่พระเชตะวันมหาวิหารเพื่อพิสูจน์ความสามารถว่าใครจะเหนือกว่ากันพระพุทธองค์ทรงทราบ
วัตถุประสงค์ของกลุ่มวังคีสะได้ดี จึงรับสั่งให้นำกะโหลกคนตายมา ๕ กะโหลก คือ:-

๑. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดในนรก
๒. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดในสวรรค์
๓. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
๔. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดเป็นมนุษย์
๕. กะโหลกของพระอรหันต์

เมื่อได้กะโหลกศีรษะมาครบแล้ว ได้มอบให้วังคีสะตรวจสอบดูว่าเจ้าของกะโหลกเหล่านั้นไปเกิดที่ไหน วังคีสะ เคาะกะโหลกเหล่านั้นมาตามลำดับ และทราบสถานที่ไปเกิดถูกต้องทั้ง ๔ กะโหลก แต่พอมาถึงกะโหลกสุดท้าย ซึ่งเป็นกะโหลกของพระอรหันต์ไม่สามารถจะทราบได้ ไม่มีเสียงตอบจากเจ้าของกะโหลกว่าไปเกิดที่ไหน จึงนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า:-

“วังคีสะ เธอไม่รู้หรือ ?”
“ข้าพระพุทธเจ้า ไม่รู้ พระเจ้าข้า”
“วังคีสะ ตถาคตรู้”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงทราบด้วยมนต์อะไร พระเจ้าข้า”
“ด้วยกำลังมนต์ของตถาคตเอง”

บวชเพื่อเรียนมนต์

ลำดับนั้น วังคีสะ ได้กราบทูลขอเรียนมนต์นั้นจากพระบรมศาสดา ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงรับจะสอนมนต์นั้นให้ แต่มีข้อแม้ว่าผู้เรียนจะต้องบวช จึงจะสอนให้ วังคีสะ คิดว่า ถ้าเรียนมนต์นี้จบก็จะไม่มีผู้เทียมได้เลย จะเป็นประโยชน์แก่อาชีพของตนเป็นอย่างยิ่ง จึงบอกให้พราหมณ์ร่วมคณะเหล่านั้นรอยู่สัก ๒-๓ วัน เมื่อบวชเรียนมนต์จบแล้วก็จะสึกออกไปร่วมคณะกันต่อไป เมื่อวังคีสะบวชแล้ว พระบรมศาสดาประทานพระกรรมฐาน มีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์ รับสั่งให้สาธยายท่องบริกรรม พร้อมทั้งพิจารณาไปด้วยฝ่ายพราหมณ์ที่คอยอยู่ก็มาถามเป็นระยะ ๆ ว่าเรียนมนต์จบหรือยัง วังคีสะ ก็ตอบว่ากำลังเรียนอยู่ โดยเวลาล่วงไปไม่นานนัก ท่านก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา พวกพราหมณ์เหล่านั้นเห็นว่าท่านไม่หวนกลับสึกออกมาประกอบอาชีพฆราวาสเช่นเดิมอีกแล้ว จึงได้แยกย้ายกันไปตามอัธยาศัยของตน ๆ

ได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะ

พระวังคีสะ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วได้เป็นกำลังช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคครั้งใด ก็จะกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณบทหนึ่งอยู่เสมอด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดาทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้มีปฏิภาณ คือ ความสามารถในการผูกบทกวีคาถา ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

จาก http://84000.org

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com