พระครูอินทวุฒิกร
(ต่วน อินทปัญโญ)
วัดกล้วย จ.อยุธยา่ี
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
นามเดิม ต่วน สิทธิวงษา บิดา-มารดา นายเหม - นางเฉียบ สิทธิวงษา
อาชีพ ทำนา
ท่านเกิดเมื่อปี
พ.ศ. 2444 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในบรรดาพี่น้องหลายคน
ท่านเองเป็นคนรูปร่างเตี้ยล่ำ ผิวคล้ำ วัยเด็กเรียนหนังสืออยู่กับพระที่วัด
และติดตามพระอาจารย์เดินธุดงค์เข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร
เมื่อมีอายุครบอุปสมบท ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่กรุงพนมเปญ
และจำพรรษาอยู่ที่นั้น 1 พรรษา เมื่อออกพรรษารับผ้ากฐินแล้ว
จึงเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
หลวงปู่ต่วน ได้เรียนวิชาอาคม เวทมนต์คาถาต่างๆ มากมาย
ร่างกายของท่านมีรอยสักยันต์และอาบน้ำยาว่านเต็มไปหมด หลังอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วท่านได้เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมเข้ามาในประเทศไทย
มีพระที่เป็นสหายร่วมเดินธุดงค์หลายรูป แต่ส่วนใหญ่กลับสู่ประเทศเขมรหมด
คงเหลือสหายธรรมอยู่ในประเทศไทยเพียง 2 รูป คือ หลวงปู่หิน
วัดระฆัง ธนบุรี กับ หลวงปู่สร้อย วัดทางหลวง อ.บางซ้าย จ.อยุธยา
ต่อมาในปี
พ.ศ. 2469 ท่านได้มาจำพรรษาวัดหัวโนน หรือวัดหัวใน ต.หนองแค
อ.หนองแค จ.สระบุรี เพื่อเรียนวิปัสนากรรมฐาน กับหลวงปู่ทา
เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นชาวจังหวัดอุทัยธานี หลวงปู่ทาเป็นพระอาจารย์ที่มีวิชาอาคมมาก
ท่านเป็นพระสหายที่ร่วมเดินธุดงค์กับหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ
จ.อยุธยา
หลวงปู่ต่วน
จำพรรษาเพื่อเรียนวิชากับหลวงปู่ทา ที่วัดหัวโนน เป็นเวลา
3 พรรษา หลังจากนั้น หลวงปุ่ทาก็ได้ให้หลวงปู่ต่วนมาอยู่ที่วัดกล้วยเพื่อพัฒนาวัดกล้วยให้เจริญ
เมื่อเดินทางออกจากวัดหัวโนนแล้วท่านได้ไปพักกับ หลวงปู่หิน
พระสหาย เพื่อเรียนวิชากับหลวงปู่นาค วัดระฆัง เมื่อออกจากวัดระฆังแล้ว
ก็มาพำนักอยู่ที่วัดกล้วยและพัฒนาเสนาสนะ จนมีความเจริญทุกวันนี้
ท่านมรณภาพเมื่อวันที่
1 ตุลาคม 2529 หลังจากวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ต่วน แล้ว
ก็ทำพิธีสามหาบเก็บอัฐิธาตุ และทำพิธีบรรจุอัฐิลงในรูปเหมือนของท่าน
ในการทำพิธีบรรจุอัฐินั้น หลายคนสงสัยว่าทำไมอัฐิของท่านจึงมีสีขาวสะอาดและมีสีสันสวยงาม
และที่แปลกอีกอย่างหนึ่งคือ ทำไมบริเวณกระดูกหน้าแข้งของท่านจึงเป็นหินสีน้ำตาล
และกระดูกศีรษะเป็นสีเขียว สีฟ้า ขณะนั้นยังไม่มีใครรู้จักเรื่องกระดูกที่แปรเป็นพระธาตุกันมากนัก
พระครูประภัศรญาณสุนทร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา จึงได้เก็บกระดูกส่วนศีรษะไว้ชิ้นหนึ่ง
และส่วนหน้าแข้งที่เป็นหินชิ้นหนึ่ง โดยไม่นำไปบรรจุในรูปเหมือนของท่าน
ต่อมาเมื่อไปเก็บเศษขี้เถ้า จึงได้พบฟัน และลูกตาสีนิลทั้ง
2 ข้าง ส่วนเศษกระดูกนั้นในระยะแรกก็มีไขมันจับเยิ้มอยู่ แต่พอนานๆไปก็กลายเป็นผลึกหยกสีต่างๆและกลายเป็นพระธาตุเม็ดเล็กๆ
กระดูกส่วนอื่นๆ ก็จับตัวเป็นเหมือนปะการังสีขาว
ธรรมโอวาท
๑. ข้อคิด กระดานแผ่นเดียว : มนุษย์เรานั้นจะอยู่ในฐานะอะไรก็ตาม
จะอยู่ตึก หรือ กระต๊อบ ก็มีค่าเพียงกระดานแผ่นเดียว
๒.
ศีล : ย่อมผูกใจไว้ซึ่งจิตโดยธรรมชาติ เพราะเหตุนั้นธรรมชาติอันเป็นเครื่องผูก
ที่เรียกว่าศีลย่อมถูกข่มไว้ซึ่งจิต เพราะเหตุนั้นธรรมชาติอันเป็นเครื่องข่มที่เรียกว่าศีลนี้
ย่อมยังกุศลกรรมทั้งหลายให้ทรงไว้ เพราะเหตุนั้นธรรมชาติอันเป็นเครื่องยังกุศลกรรมทั้งหลายให้ทรงไว้จึงชื่อว่า
ศีล
ภาพพระธาตุ
แหล่งข้อมูล-ภาพประกอบ:
วัดกล้วย หมู่ที่ 11 ต.กะมัง อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา, คุณเรวัต |