เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล)
วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ี

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2430 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาของท่านชื่อ นายแดง มารดาชื่อ นางเงิน นามสกุล "ดีมาก" ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน ชีวิตของหลวงปู่เมื่อแรกรุ่นเจริญวัยนั้น ท่านจึงต้องมีภารกิจมากกว่าเป็นธรรมดา โดยต้องทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

ท่านจึงได้ละฆราวาสวิสัยอย่างเข้าสู่ความเป็นสมณะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 เมื่อท่านมีอายุได้ 22 ปี ณ พัทธสีมา วัดชุมพลสุทธาวาส ในเมืองสุรินทร์ โดยมี พระครูวิมลสีลพรต(ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบึกเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูฤทธิ์เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อแรกบวช ก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานกับหลวงปู่แอก วัดคอโค ซึ่งอยู่ชานเมืองสุรินทร์ หลวงปู่ดุลย์ก็พากเพียรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จนครบไตรมาสโดยไม่ลดละ แต่ก็ไม่ปรากฏเห็นผลอันใดแม้เล็กน้อย นอกจากนี้ก็ใช้เวลาที่เหลือท่องบ่นเจ็ดตำนานบ้าง สิบสองตำนานบ้าง แต่ไม่ได้ศึกษาพระวินัยเลย

ท่านไป จังหวัดอุบลฯ พยายามมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอย่างเต็มสติกำลัง จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ คือ สามารถสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรี นวกภูมิ เป็นรุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี และยังได้เรียนบาลีไวยกรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถแปลพระธรรมบทได้

ใน พ.ศ. 2461 ขณะเมื่ออายุ 31 ปี ท่านจึงได้ญัตติจากนิกายเดิมมาเป็นพระภิกษุในธรรมยุตติกนิกาย ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ฯ จังหวัดอุบลราชธานีโดยมี พระมหารัฐเป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอุดร เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ที่ในพรรษานั้นเองท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี หลวงปู่ดุลย์กับอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พากันไปฟังธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่นกันเป็นประจำ ทำให้เกิดความซาบซึ้งถึงใจคำพูดแต่ละคำมีวินัยแปลกดี ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงเพิ่มความสนใจใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานมากยิ่งขึ้นทุกที

ครั้นออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์จึงตัดสินใจออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่นไป ทุกท่านปฏิบัติตามปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฎ์แรงกล้า ปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของท่านปรมาจารย์อย่างสุดขีด จนแสงแห่งพระธรรมก็บังเกิดขึ้น ปรากฏแก่จิตของท่าน รู้ชัดว่าอะไรคือจิต อะไรคือกิเลส จิตปรุงกิเลสหรือกิเลสปรุงจิต และเข้าใจสภาพเดิมของจิตที่แท้จริงได้จนรู้กิเลสส่วนไหนละได้แล้วส่วนไหนยังละไม่ได้ดังนี้

หลวงปู่เป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็น พูดน้อย สงบ อยู่เป็นนิตย์ มีวรรณผ่องใส ท่านรักความสงบจิตใจใฝ่ในความวิเวกมาก จะเห็นได้ว่าท่านชอบสวดมนต์บท "อรญฺเญ รุกขมูเลวา สุญฺญาคาเรวา ภิกฺขโว..." มาก ท่านได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องดีงามอยู่ภายใต้ผ้ากาสาวพัสตร์เป็นเวลานานถึง 64 พรรษา ท่านประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีงามของชาวพุทธตลอดเวลา เป็นเนื้อนาบุญของโลก ท่านเป็นพุทธสาวกอย่างแท้จริงได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้ละสังขารตามสภาวธรรมเมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2526 แม้ว่า หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ได้สละทิ้งร่างกายไปแล้ว แต่เมตตาธรรมที่ท่านได้ประสาทไว้แก่สานุศิษย์ทั้งหลายยังเหลืออยู่ คุณธรรมดังกล่าวยังคงประทับอยู่ในจิตใจของทุกๆ คนไม่ลืมเลือน


ธรรมโอวาท

1.จิตที่ส่งออกนอกเพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้นเป็นสมุทัย
2.ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหวเป็นทุกข์
3.จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค
4.ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ

"ถ้ามีเวลาสำหรับหายใจ ก็ต้องมีเวลาสำหรับภาวนา"

ภาพพระธาตุ



แหล่งข้อมูล-ภาพประกอบ: วัดสันติธรรม. 2548. 50 ปี สันติธรรมานุสรณ์. กลางเวียงการพิมพ์, เชียงใหม่

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com