เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์ สุนทโร, หลวงปู่เมตตาหลวง)
วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์ สุนฺทโร) หรือที่รู้กันทั่วไปในนาม หลวงปู่เมตตาหลวง ท่านมีนามเดิมว่า สิงห์ เนียมอ้ม เกิดวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2452 ปีระกา หมู่บ้านตำบลสะอาด หมู่ 3 อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น โยมบิดาชื่อ หา โยมมารดาชื่อ ปาน มีพี่น้องทั้งหมด 10 คน โดยหลวงปู่เป็นคนที่ 2

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

หลวงปู่ได้บวชเป็นเณรเมื่ออายุได้ 11 ขวบ ซึ่งเป็นการบวชหน้าไฟอุทิศให้แก่คุณตาที่ถึงแก่กรรม แต่อย่างไรก็ดี การบรรพชาในครั้งนี้ท่านตั้งใจบวชเพื่ออุทิศบุญกุศลและถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ณ วัดบ้านหนองอ้อใหญ่ ต.สะอาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นการบวชฝ่ายมหานิกาย หลังจากบรรพชาได้ 2 ปี พระอุปัชฌาย์ของท่านได้เห็นความตั้งใจจริง และมองการณ์ไกลต่อไปในอนาคต จึงได้บวชให้ใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุติ ต่อมาจึงให้หลวงปู่ไปศึกษาหนังสือที่วัดศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งในช่วงนี้ ท่านได้ติดตามพระภิกษุรูปหนึ่ง ไปยังวัดอุ่มเม่า จ.กาฬสินธุ์ แล้วจึงกลับมายังวัดศรีจันทร์อีกครั้ง

ในปี พ.ศ.2472 หลวงปู่จึงได้อุปสมบทที่วัดศรีจันทร์ โดยมี พระครูพิเศษสุตคุณ (ต่อมาเป็น พระครูพิศาลเจริญเขต (จันทร์ เขมิโย)) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า สุนฺทโร ด้วยความที่ท่านมีนิสัยขยันหมั่นเพียร อ่านท่องหนังสือ จึงทำให้มีผู้สนใจ รบเร้าให้พระอุปัชฌาย์พาท่านเพื่อมาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ ซึ่งก็ได้รับความยินยอมตามประสงค์ พระอุปัชฌาย์ท่านจึงได้พาตัวหลวงปู่ไปถวายกับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโต) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสฯ ในขณะนั้น ซึ่งท่านก็ได้เรียนนักธรรมที่กรุงเทพฯ และสอบมาเรื่องๆ จนกระทั่งได้เปริญธรรม 6 ประโยค ในปี พ.ศ.2481 ซึ่งท่านมีอายุได้ 29 ปี จึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนา

เมื่อหลวงปู่กลับไปถึง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ท่านได้รับตำแหน่งหน้าที่เป็นพระสังฆาธิการเจ้าคณะอำเภอ ซึ่งในขณะนั้น ท่านก็ได้นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมา นำมาสอนแก่กุลบุตรผู้สนใจ และได้ตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดเสี้ยวโคกลาง อ.น้ำพอง จ ขอนแก่น ซึ่งในช่วงเวลานี้ หาว่างเว้นจากการสอนท่านก็จะหามุมเงียบสงบ เจริญปฏิบัติภาวนาในป่าเขาเช่นกัน ต่อมาหลวงปู่ก็ได้พบกับหลวงปู่คำดี ปภาโส ซึ่งหลวงปู่คำดี ได้แนะวิธีเจริญปฏิบัติภาวนาให้ ท่านจึงเคารพหลวงปู่คำดีเป็นอย่างยิ่ง ครั้งต่อมาหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ธุดงค์หาความวิเวกผ่าน จ.เลย หลวงปู่จึงได้เดินทางธุดงค์ไปพร้อมหลวงปู่ขาว ซึ่งหลวงปู่ขาวได้สอนหลวงปู่ให้สวดมนต์คาถาเมตตาหลวง ซึ่งท่านก็ได้นำมาเผยแพร่ให้ลูกศิษย์ จนกระทั่งผู้คนให้สมญานามท่านว่า หลวงปู่เมตตาหลวง เมื่อท่านอยู่ศึกษากับหลวงปู่ขาวได้เวลาสมควร จึงย้อนกลับมาปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่คำดีเช่นเดิม

หลังจากนั้นหลวงปู่ยังได้พบกับครูบาอาจารย์อีกหลายรูปหลายองค์ และต่อมาได้ติดตามสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) มาจำพรรษาที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ ซึ่งสมเด็จฯท่านเห็นความเหมาะสมของหลวงปู่ จึงได้แต่งตั้งท่านเป็นพระธรรมฑูต ไปแสดงพระธรรมเทศนาตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลา 4 ปี จึงลาออกจากตำแหน่ง

ในช่วงที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ หลวงปู่ได้มาศึกษาอยู่กับพ่อท่านลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการด้วย ซึ่งภายหลัง ท่านจึงติดตามพ่อท่านลีออกธุดงค์เดินทางไปภาคอิสาน ออกวิเวกตามสถานที่ต่างๆ จนกระทั่งมาถึงดงพญาเย็น ท่านได้พักปฏิบัติธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งเป็นเชิงเขาที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "เขาสีเสียดอ้า" ซึ่งพ่อท่านลี มีดำริสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นองค์หนึ่งบนภูเขา จนกระทั่งมีคณะศรัทธามาสร้างพระพุทธรูปและวัดเทพพิทักษ์ปุณณารามขึ้น แต่พระพุทธรูปไม่ทันจะสร้างเสร็จพ่อท่านลีก็มรณภาพลงเสียก่อน คณะศรัทธาจึงนิมนต์หลวงปู่เมตตาหลวงขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งหลวงปู่ก็ได้จำพรรษาที่นี่ และอบรมสั่งสอนประชาชนอยู่จนกระทั่งมรณภาพ เมื่อวันที่.................

สิริรวมอายุได้........ปี พรรษาที่...........

ธรรมโอวาท
๑.

ภาพพระธาตุ

แหล่งข้อมูล: ตัดทอนและเรียบเรียงจากนิตยสารโลกทิพย์

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com