เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จันทปัชโชโต)
วัดนรนารถสุนทริการาม จ.กรุงเทพฯ

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่สนั่น ถือกำเนิดในสกุล สรรพสาร เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 10 คน ของคุณพ่อกำนันคำพ่วย และ คุณแม่แอ้ม สรรพสาร ณ บ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2451 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 5

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

บรรพชาเป็นสามเณร

เมื่อยังเด็ก หลวงปู่มีอุปนิสัยรักในการบวช มักพูดว่าอยากไปบวชเณร และชอบที่จะคลุกคลีอยู่กับผู้ใหญ่ มากกว่าเด็กๆวัยเดียวกัน มีแววเฉลียวฉลาดและสติปัญญาดี ท่านได้รับการเลี้ยงดูจากคุณลุงเคน และคุณป้าแก้ว ซึ่งเป็นพี่สาวของโยมมารดา ตั้งแต่ยังเล็กๆ ท่านอยู่กับคุณป้าแก้วได้อายุประมาณ 9 ขวบ คุณป้าแก้วก็เสียชีวิตลง หลวงปู่ได้บวชหน้าไฟอุทิศให้แก่คุณป้าในงานวันฌาปณกิจศพ โดยมี พระอธิการเคน คมฺภีรปญฺโญ (สรรพสาร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดบูรพาพิสัย การบวชเป็นเณรของหลวงปู่ในครั้งนั้น ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน และปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ เป็นเวลา 4 ปี

ต่อมาท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) ได้รับหลวงปู่เข้าเป็นลูกศิษย์ เนื่องจากถูกอัธยาศัยกับท่านเมื่อครั้งท่านไปพักที่วัดบูรพาพิสัย ครั้งนั้นหลวงปู่จึงได้ย้ายมาจำวัดที่วัดศรีทอง จ.อุบลราชธานี และในช่วงนี้เองท่านได้เข้าศึกษาภาษาไทยและบาลีไวยากรณ์กับท่านเจ้าคุณพระศรีธรรมวงศาจารย์ (ทองจันทร์ เกสโร) ที่โรงเรียนอุบลวิทยาคม วัดสุปัฏนาราม จ.อุบลราชธานี

อุปสมบท

พ.ศ. 2468 ท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) ได้ฝากฝังหลวงปู่ไว้ให้อยู่ในปกครองของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ที่วัดบรมนิวาสฯ จ.กรุงเทพฯ ณ ที่นี้หลวงปู่ได้เริ่มต้นศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง และได้อุปสมบทที่วัดบรมนิวาสฯนี้เอง ในปี พ.ศ.2471 โดยมี พระครูศีลวรคุณ (อ่ำ ภทฺราวุโธ)เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมราภิรักขิต (ชัย ชิตมาโร)เป็นพระกรรมวาจาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า จนฺทปชฺโชโต

หลวงปู่ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความขยันและอดทน และสำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม เปรียญ 9 ได้ในปี พ.ศ.2486 ขณะที่หลวงปู่มีอายุได้ 23 ปี ในช่วงอายุนี้ท่านได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม และช่วยงานการปกครองคณะสงฆ์ของจังหวัด ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้อนุญาตให้หลวงปู่ไปช่วยงานได้ตามที่ขอมา ซึ่งหลวงปู่ก็ได้ไปอยู่ช่วยงานที่จังหวัดจันทบุรีอยู่ 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2472-2524 หลวงปู่ได้ทำหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมตามสำนักเรียนต่างๆ

ในวัย 36 ปี (พ.ศ.2486) หลวงปู่ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสังฆสภา จากนั้นท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่ต่างๆเพื่อประโยชน์ทางพระพุทธศาสนา ทั้งด้านการศึกษา การปกครอง การเผยแผ่ และสาธารณูปการต่างๆอย่างเต็มความสามารถ ในปี พ.ศ.2489 หลวงปู่มีสมณศักดิ์ในขณะนั้นที่ พระอมรเวที ท่านได้รับหน้าที่จาก สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร ให้ไปอยู่ช่วยงานที่กองตำรามหามกุฏฯ ที่วัดนรนาถสุนทริการาม หลวงปู่จึงย้ายไปจำพรรษาที่วัดนรนาถฯ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงปู่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ต่างๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2532 ท่านได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระมหามุนีวงศ์"

หลวงปู่ได้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะหรือสมณศักดิ์ใด ท่านมีความมักน้อย สันโดษ ไม่โอ้อวด ไม่ถือยศตลอดอายุของท่าน บรรดาพระป่ากัมมัฏฐานต่างๆ เช่น หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปณฺโณ ได้กล่าวถึงหลวงปู่ว่า "เป็นพระแท้ กราบไหว้ได้ด้วยความสนิทใจ" โดยทุกๆเช้าหลวงปู่จะตื่นตี 4 ลุกขึ้นมาไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิไปจนกระทั่ง 6 โมงเช้า จากนั้นจึงลงไปเดินจงกรมรอบๆโบสถ์ ปฏิบัติเช่นนี้มาตลอด ไม่เคยขาดแม้กระทั่งเจ็บป่วย ท่านเคยได้ออกธุดงค์และบำเพ็ญเพียรในป่า ตามแบบอย่างของครูบาอาจารย์ของท่าน มีท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นต้น

ในช่วงท้ายของชีวิต หลวงปู่ได้อาพาธด้วยโรคไต และปอด มีอาการเจ็บป่วยอยู่เป็นระยะ ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ.2541 หลวงปู่เข้ารับการรักษาอาการอาพาธ ในครั้งนี้หลวงปู่ได้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่ เบาหวาน ความดันต่ำ และหอบหืด ทำให้มีอาการรุนแรงกว่าทุกครั้ง หลวงปู่มีสติดีเยี่ยม รับรู้อาการทรมานแห่งโรค รับรู้การรักษาพยาบาล ซึ่งท่านไม่ได้มีอาการทุรนทุราย กระสับกระสาย หรือร้องครวญครางให้ใครได้ยินเลย ท่านแสดงถึงความเข้มแข็งและเด็ดเดี่ยว จนกระทั่งวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 หลวงปู่อยู่ในอารมณ์สมาธิ เงียบสงบ ลมหายใจแผ่วเบา และอ่อนลงตามลำดับ จนกระทั่งมรณภาพลง

สิริอายุรวม 90 ปี 1 เดือน 24 วัน พรรษาที่ 71

ธรรมโอวาท
๑. การปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะปฏิบัติแนวไหน สายไหน ก็ใช้ได้ทั้งนั้น สำคัญตรงที่เราปฏิบัติกันอย่างจริงๆจังๆ ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะปฏิบัติในแบบภาวนาพุทโธ หรือ สัมมาอะระหัง หรือยุบหนอพองหนอ เป็นต้น แต่ละอย่างล้วนต่างก็ให้ผลดี คือทำจิตใจให้สงบระงับจากกิเลสอาสวะได้ทั้งสิ้น

ภาพพระธาตุ

แหล่งข้อมูล: ตัดทอน/เรียบเรียงจาก วัดนรนาถสุนทริการาม. 2542. สมเด็จพระมหามุนีวงศ์.มหามกุฏราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com