เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

พระครูนิยุตธรรมสุนทร (ยิด จันทสุวัณโน)
วัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงพ่อยิดท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด มีนามเดิมว่ายิด ศรีดอกบวบ บิดาชื่อ แก้ว มารดาชื่อพร้อย มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4

เมื่ออายุ 6 ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ พระอาจารย์หวล วัดนาพรหม (ท่านเป็นน้าของ ด.ช.ยิด) และเห็นว่าเป็นเด็กที่ชอบอยู่วัด และจะเดินตามหลวงน้าไปวัดทุก ๆ วัน ในตอนเช้าหลังจากใส่บาตรแล้ว ครั้นอายุได้ 9 ขวบได้บวชเป็นสามเณร ณ วัดนาพรหม โดยมีพระอธิการหวล(หลวงน้า) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาอักขระเลขยันต์และฝึกปฏิบัติสมาธิกับพระอธิการหวล และครูหลี แม้นเมฆ มีความสนใจในด้านวิชาอาคม สักยันต์และร่ำเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ควบคู่กันไป และได้ขออนุญาตออกธุดงควัตรกับพระอุปัชฌาย์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร โดยออกธุดงค์เป็นเวลา 4 ปี และได้ลาสิกขามาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนาตอนอายุ 14 ปี และในช่วงนี้นี่เองที่หลวงพ่อเริ่มมีชื่อเสียงจากการสักยันต์ เนื่องจากเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน ได้ลองให้หลวงพ่อสักให้แล้วเกิดมีประสบการณ์ จึงเล่ากันปากต่อปากและมีผู้มาสักยันต์มากขึ้น (ขณะนั้นอายุประมาณ 17-19 เท่านั้น)

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เมื่ออายุได้ 20 ปีก็ได้อุปสมบทตามประเพณี โดยมีหลวงพ่ออินทร์ วัดยางเป็นพระอุปฌาย์ พระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า จันทสุวัณโณ และได้ศึกษาด้านวิชาอาคม เพิ่มเติมโดยฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง และได้ออกธุดงค์ศึกษากรรมฐานหายเข้าป่าหลายปีจนได้กลับมาวัดนาพรหม ในปี พ.ศ. 2487 ก็ได้ทราบข่าวการป่วยของบิดา จึงคอยดูแลจนกระทั่งบิดาเสียจึงลาสิกขาออกมาดูแลมารดาซึ่งแก่ชรามาก และได้แต่งงานมีครอบครัว ส่วนลูกศิษย์เก่า ๆ ที่ได้จากการสักจากหลวงพ่อ พอรู้ข่าวก็ได้มาสักกันเพิ่มขึ้นจนมีชื่อเสียงโด่งดัง แต่มีบางคนที่ได้รับการสักยันต์จากหลวงพ่อแล้ว กลับประพฤติตนเป็นอันธพาล จนทางตำรวจท้องที่ต้องขอร้องอาจารย์ยิด(ขณะนั้น) ให้เพลา ๆ การสักยันต์ลง

ต่อมาจึงมีการเลือกเฟ้นจนแน่ใจแล้ว จึงจะทำการสักให้ จนกระทั่งปี 2518 จึงได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดเกาะหลัก โดยมีหลวงพ่อเปี่ยมเป็นพระอุปฌาย์ ได้รับฉายา จันทสุวัณโณ เช่นเดิม ซึ่งขณะนั้นท่านอายุ 51 ปี เมื่ออุปสมบทแล้วก็เดินทางไปจำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่ วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบฯ ได้พบกับอุบาสิกาใจบุญ 2 ท่าน ยกพื้นที่ดินว่างเปล่าพื้นที่ 21 ไร่ 2 งาน ให้โดยปรารถนาให้ท่านสร้างวัดขึ้น ที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วย ป่าไผ่ และดงต้นหนาม ซึ่งหลวงพ่อได้ปลูกกระต๊อบหลังเล็ก ๆ ไว้ และก็เริ่มถางป่าไผ่ พัฒนาไปเรื่อย ๆ จนพื้นที่รกทึบเริ่มโล่งมากขึ้น จนกระทั่งบรรดาลูกศิษย์ที่ได้รับการสักยันต์ และพวกที่เคยได้รับการรักษายาสมุนไพร ได้รู้ข่าวการสร้างวัดใหม่ของหลวงพ่อก็ได้มาร่วมกันสร้างวัดด้านผู้ชายก็ช่วยถากถาง ผู้หญิงก็ช่วยหุงหาอาหาร แจกจ่ายและได้รวมกันสร้างกุฏิขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ ในขั้นแรก และต่อมาได้พัฒนาเป็นวัดหนองจอกในปัจจุบัน

หลวงพ่อยิด ได้มรณภาพเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริอายุ 71 ปี 30 พรรษา

ธรรมโอวาท
๑.

ภาพพระธาตุ

แหล่งข้อมูล: เว็บไซต์ พระเครื่องไทย

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com