เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

หลวงปู่ชื้น พุทธสโร
วัดญาณเสน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

หลวงปู่ชื้น พุทธสโร มีนามเดิมว่า "ชื้น" เกิดเมื่อวันพุธ เดือน 4 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 18 มีนาคม 2450 เป็นบุตรของนายจัน และนางหงิม นามสกุล “ยอดฉิม” เป็นชาวหมู่บ้านไฝต่ำ อ.หนองแค จ.สระบุรี โดยครอบครัวได้ประกอบอาชีพด้านกสิกรรม เบื้องต้นได้ศึกษาเล่าเรียนที่ วัดเกาะลอย ซึ่งอยู่ในหมู่บ้าน เมื่ออายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณร จนถึงอายุ 18 ปี จึงลาสิกขาบทออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนาอยู่ประมาณ 3 ปี

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

หลวงปู่ได้อุปสมบท ณ วัดเกาะลอย ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2470 โดยมีหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ จ.สระบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการมาด วัดหนองแคเก่า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทองดี วัดเกาะลอย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทธสโร” ท่านเป็นพระที่ขยันหมั่นเพียรในการเรียนพระปริยัติธรรม จนกระทั่งพรรษาที่ 3 จึงสอบได้นักธรรมตรี ก่อนที่จะตัดสินใจเลิกเรียนทางด้านนี้ แล้วเบนเข็มทิศไปหาความรู้ทางด้านไสยศาสตร์วิชาอาคมจากครูบาอาจารย์วัดเกาะลอย ซึ่งทั้งวิชาไสยเวทย์และแพทย์แผนโบราณ เมื่อมีความรู้รักษาตนเองได้ จึงออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรเสาะหาพระเกจิอาจารย์เพื่อร่ำเรียนวิชาอาคมอย่างต่อเนื่อง ได้ออกเดินทางจากจังหวัดสระบุรีเรื่อยมาจนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมาหยุดจำพรรษาที่วัดญาณเสนในปัจจุบันนี้

ณ อารามแห่งนี้ ท่านได้ศึกษาวิชาไสยศาสตร์ โหราศาสตร์และวิชาเล่นแร่แปรธาตุกับพระอาจารย์สาย หรือขุนโจรย่ามแดงในอดีต ได้อยู่จำพรรษาตั้งแต่นั้นมา โดยพึงพอใจกับวิชาความรู้ที่ช่วยสงเคราะห์ญาติโยมที่มาให้ท่านช่วยปัดเป่า บรรเทาความเดือดร้อนอยู่หลายปีด้วยกัน ช่วงเวลานั้นชื่อเสียงของพระอาจารย์สายและพระอาจารย์ชื้นเป็นที่ร่ำลือถึงความเข้มขลังและศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าใครจะเป็นอะไรมาท่านทั้งสองจะช่วยสงเคราะห์ได้หมด ชื่อเสียงขจรไกลถึงกรุงเทพฯ ซึ่งขณะนั้นได้มีเศรษฐีผู้หนึ่งได้เกิดเป็นโรคเหน็บชา รักษาอย่างไรก็ไม่หาย ยาไทยยาเทศกี่ขนานก็เอาไม่อยู่ เมื่อล่วงรู้เกียรติศักดิ์ของหลวงพ่อชื้น จึงเดินทางมาให้ท่านรักษา ท่านเสกไพรไปให้ทานปรากฏว่าหายเป็นปลิดทิ้ง เขาจึงกราบเรียนท่านไปจำพรรษาอยู่ที่วัดแค นางเลิ้ง (วัดสุนทรธรรมทาน) กรุงเทพฯ พร้อมถวายตัวเป็นโยมอุปัฎฐาก แต่เมื่อท่านไปปรึกษากับพระอาจารย์สาย ได้รับเหตุผลและแง่คิดมากมาย จนทำให้ต้องบอกปฏิเสธไป ต่อมาพระอาจารย์สายได้ลาสิกขาบทออกไป ทำให้หลวงปู่ชื้นต้องอยู่อย่างลำพังต้อนรับญาติโยมที่นับวันจะมากขึ้นทุกวัน จึงเริ่มเบื่อหน่ายในวิชาไสยศาสตร์และคาถาอาคม ทำให้ร่างกายและจิตใจของท่านเกิดความร้อนรุ่ม

ประกอบกับมีข่าวเกี่ยวกับพระภิกษุรูปหนึ่งมาปลักกลดอยู่ที่หน้าวัดกุฎีทอง มีญาติโยมขึ้นกันมากมาย ปฏิปทาของพระอาจารย์รูปนั้นเป็นที่โจษขานกันมากโดยในวันพระจะไม่พูดกับใครเลยและจะไม่ฉันอาหารใดๆทั้งสิ้น ส่วนวันธรรมดาก็จะพูดน้อยมาก อัฐบริขารก็จะมีเพียงกลด จีวรและรองเท้าเก่าๆ ส่วนในย่ามก็มีเพียงกะลาสำหรับเป็นภาชนะใส่ข้าวและช้อนที่ทำจากกะลาเท่านั้น มารู้ภายหลังว่าพระอาจารย์รูปนั้นคือ “พระอาจารย์เสน เตชธัมโม ธุดงค์มาจาก อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา หลวงปู่ชื้นจึงไม่รีรอที่จะเข้าไปใกล้ชิด เพื่อสัมผัสและพิสูจน์ตามคำโจษขานนั้น และได้รับคำทักท้วงว่า “ท่านเดินผิดทางแล้ว” พระอาจารย์เสนย้ำอยู่อย่างนี้หลายครั้งหลายหน จนท่านนำคำพูดนั้นมาทบทวน และค่อยใช้สติสมาธิพิจารณาถึงความหมาย จนกระทั่งพบข้อเท็จจริงแห่งสัจธรรม ทั้งสองท่านก็ปรารถณาเป็นศิษย์-อาจารย์กัน ทบทวนศีล พระธรรมวินัยต่างๆ โดยหลวงปู่ชื้นได้นำตำราไสยศาสตร์วิชาอาคมต่างๆที่เล้าเรียนมาตั้งแต่ต้นเผาทิ้งจนหมดสิ้น จึงกลับมาปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดกับพระอาจารย์เสน พร้อมทั้งนิมนต์ให้ผู้เป็นอาจารย์มาจำพรรษาที่วัดญาณเสน จากปฏิปทาที่เปลี่ยนแปลงไปของท่าน จึงมีเสียงครหาไปในทางไม่สู้ดี แต่ท่านก็ไม่สนใจยังคงมุ่งหน้าที่จะมุ่งปฏิบัติต่อไปจนถึงขั้นอุกฤษฎ์ใต้ต้นโพธิ์ข้างโบสถ์เป็นเวลา 1 เดือน ด้วยการนั่งสมาธิตลอดเวลา ยกเว้น เวลาฉัน ปัสสาวะและขับถ่ายเท่านั้น ชั่วเวลาเพียง 24 วัน จากการเริ่มปฏิบัติท่านก็สำเร็จสุดยอดวิชา“รัตนจักร” พร้อมกันนั้นท่านก็ถูกร้องเรียนไปทางคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้พิจารณาในปฏิปทาที่เพี้ยนๆเป็นต้นว่า ชอบอยู่อย่างสมถะ สันโดษ ข้างของที่ญาติโยมนำมาถวาย ใครจะหยิบอย่างไรก็ไม่ห้ามปราม หมู หมา กา ไก่ ฯลฯ จะมาอยู่ในวัดสร้างความสกปรกอย่างไรท่านก็วางเฉยไม่ดำเนินการใดๆทั้งสิ้น จึงมีมติให้ปลดท่านจากการเป็นเจ้าอาวาส หลวงปู่ชื้นท่านก็มิได้อนาทรร้อนใจใดๆทั้งสิ้น เพียงขอทางคณะสงฆ์ว่า การตั้งเจ้าอาวาสให้ตั้งจากพระที่มาจากวัดญาณเสนเท่านั้น ในความรู้สึกของชาวบ้านและญาติโยมทั่วไปก็ยังคงเคารพนับถือหลวงปู่ชื้นไม่มีเสื่อมคลาย ในวัตถุมงคลของหลวงปู่ชื้นที่ผ่านการอธิษฐานจิตจากท่าน หลวงปู่จะอัญเชิญพระรัตนจักรมาสถิตในวัตถุมงคลนั้นๆเสมอ

หลวงปู่ชื้น พุทฺธสโร มรณภาพอย่างสงบในวัย 97 ปี ภายในกุฏิตึกทรงธรรม ต่อหน้าลูกศิษย์จำนวนมากที่เฝ้าดูแลใกล้ชิด หลังจากอาพาธมานานด้วยโรคประจำตัวหลายโรคด้วยกัน เมื่อ 17 มิ.ย. 2546

ธรรมโอวาท
๑.

ภาพพระธาตุ

ตัดทอนและเรียบเรียงจาก: ///

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com