เนื้อหาภายใน
หน้าแรก
คำนำ
พระบรมสารีริกธาตุ
  ความหมาย
  ประเภท
  คุณลักษณะ
  ลักษณะต่างๆ
  พระธาตุลอยน้ำ
ตำนานการเกิด
  ตำนานการเกิด
  สถานที่ประดิษฐาน
  พระอดีตพุทธเจ้า
  ธาตุปรินิพพาน
พุทธเจดีย์
  พุทธเจดีย์
  บุคคลที่ควรสร้างสถูป
  เจดีย์ประจำนักษัตร
พระธาตุพุทธสาวก
  พระธาตุพุทธสาวก
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
บูชาพระธาตุ
  บูชาพระธาตุ
  อัญเชิญพระธาตุ
  บทบูชาพระธาตุ
  สรงน้ำพระธาตุ
  ในพุทธดำรัส และพระสาวก
  ในเทวดาและเปรต
พระธาตุปาฏิหาริย์
  พระธาตุปาฏิหาริย์
  ลักษณะการเกิด
  ประสบการณ์พระธาตุ
ภาพถ่ายพระธาตุ
  พระบรมธาตุ 1
พระบรมธาตุ 2
พระบรมธาตุ 3
  สาวกธาตุพุทธกาล
  สาวกธาตุปัจจุบัน
  วิธีถ่ายภาพพระธาตุ
บทความเกี่ยวกับพระธาตุ
พิพิธภัณฑ์พระธาตุ
กระดานข่าวสนทนา
บรรณานุกรม
บอกกล่าว
ภาพถ่ายพระธาตุ <<< กลับไปหน้านามพระสาวกสมัยกึ่งพุทธกาล

พระพุทธสาวกธาตุสมัยกึ่งพุทธกาล**

ครููบาคำหล้า สังวโร
สำนักสงฆ์ห้วยขุนสวด จ.พะเยา

ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

ครูบาคำหล้า สํวโร เกิดเมื่อวันพุธที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๐ ที่บ้านเลขที่ ๑๖ หมูที่ ๑๔ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนสุดท้องของนายใจ และนางน้อย สุภายศ เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เมื่ออายุได้ ๘ ปี ที่โรงเรียนจำรูญราษฎร์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พออายุ ๙ ปี ได้ล้มป่วยกระเสาะกระแสะ พ่อแม่จึงนำไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย ซึ่งขณะนั้นท่านพำนัก ณ วัดเชียงยืน(วัดสันโค้งหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อบูรณะพระบรมธาตุดอยตุง


ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

ครูบาศรีวิชัย ได้ทำการบรรพชาให้ครูบาคำหล้า ณ วัดเชียงยืน ประมาณ พ.ศ.๒๔๗๐ หลังจากบูรณะพระธาตุดอยตุงเสร็จแล้ว ครูบาศรีวิชัยก็ธุดงค์กลับลำพูน ครูบาคำหล้าได้พำนักที่วัดเชียงยืน หลังจากนั้นครูบาคำหล้าก็ได้เรียนหนังสือจนจบชั้นประถม ๔ จึงเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จึงลาออกจากการเป็นนักเรียน ด้านปริยัติธรรมท่านสอบได้นักธรรมชั้นตรี ที่วัดเจ็ดยอด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาอักษรพื้นเมืองกับพระครูปัญญา ที่วัดฮ่างต่ำ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นเวลา ๓ ปี (ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๗-๒๔๗๙)

ครูบาคำหล้า สํวโร อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ณ พัทธสีมาวัดมุงเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูพุทธิสารเวที (แฮด เทววังโส) เจ้าคณะจังหวัดในขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยได้รับฉายาว่า “ฐิตสํวโร” ครูบาคำหล้าเป็นพระที่มีปฎิปทาคล้ายกับครูบาศรีวิชัยมาก เช่น การไม่ฉันเนื้อ การถือฉันมื้อเดียวเป็นวัตร ชอบธุดงค์ และสร้างถาวรวัตถุทั้งศาสนสถาน และสาธารณสถาน ครูบาคำหล้า สํวโร เคยธุดงค์ข้ามไปในเขตเมืองเชียงตุง เมืองพะยาก เมืองเชียงรุ่ง เมืองเลน และเคยจำพรรษาที่เมืองผง(เมืองพง) สหภาพพม่า เป็นเวลา ๓ ปี ท่านได้สร้างถาวรวัตถุมากมายในเขตจังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยาและจังหวัดน่าน รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๒๐ แห่ง ใน พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านได้รับนิมนต์จากพระพิมลธรรม (อาสภมหาเถระ) วัดมหาธาตุ ให้ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เป็นเวลา ๓ เดือน

ศาสนสถานที่ครูบาคำหล้า สํวโร สร้างนั้น ผู้ออกแบบและร่วมสร้าง ได้แก่ ครูบาอินถา สุทนฺโต ซึ่งเป็นสหธรรมมิกของครูบาคำหล้า ศาสนสถานที่สำคัฐที่ครูบาคำหล้าได้บูรณะซ่อมแซม ได้แก่ วัดพระธาตุดอยจอมสักสังวราราม ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พระธาตุดอยเขาควาย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย วิหารพระเจ้านั่งดิน ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พระธาตุและวิหารวัดขิงแกง ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เจดีย์วัดนาหนุน ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ฯลฯ สาธารณสมบัติที่สำคัญที่ครูบาคำหล้า สํวโร สร้าง คือสะพานข้ามแม่น้ำพุง ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย เป็นต้น

ในช่วงท้ายของชีวิตครูบาคำหล้า สํวโร ท่านได้เลิกสร้างศาสนสถานโดยเข้าไปจำพรรษาในสำนักสงฆ์ห้วยขุนสวด บ้านแวนโค้ง ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นบริเวณป่าลึกห่างไกลจากการคมนาคมเพื่อบำเพ็ญเพียร ปลายปี พ.ศ.๒๕๓๒ ครูบาคำหล้า สํวโร ได้ล้มป่วยด้วยโรคลำไส้อักเสบ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเชียงคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงรายหลายครั้ง แต่อาการก็ไม่ทุเลาลง ท่านถึงแก่มรณภาพ ณ ตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๓ ศพของครูบาคำหล้า ฌาปนกิจ ณ สำนักสงฆ์ห้วยขุนสวด บ้านแวนโค้ง ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ สิริอายุได้ ๗๓ ปี พรรษา ๕๓ พรรษา

ธรรมโอวาท

-

ภาพพระธาตุ



แหล่งข้อมูล-ภาพประกอบ: คุณเกียรติศักดิ์ ศิริรัตน์

<<< back

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุพระพุทธสาวก
พุทธบูชา 2542 - 2553 @ http://www.relicsofbuddha.com