รายละเอียดสถานที่
วัดถ้ำตะโก
พุทธโสภา เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2446 โดยมีหลวงพ่อพุทธสราจารย์เภา
ได้เดินธุดงค์มาปักกลดในพื้นที่บริเวณนี้ ต่อมามีพุทธศาสนิกชนที่เคารพเลื่อมใสในปฏิปทาของหลวงพ่อได้เริ่มก่อสร้างเป็นสำนักปฏิบัติธรรม
เนื่องจากบริเวณวัดมีถ้ำอยู่ที่เชิงเขา และมีต้นตะโกขึ้นอยู่หน้าปากทางเข้าถ้ำเป็นจำนวนมาก
จึงได้ตั้งชื่อว่า วัดถ้ำตะโก และใช้ชื่อพระประธานในพระอุโบสถเป็นคำสร้อย
วัดจึงมีชื่อว่า "วัดถ้ำตะโก
พุทธโสภา" โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2451
สมัยหลวงพ่อเภา
พุทธสโรยังดำรงค์ขันธ์อยู่นั้น สถานที่แห่งนี้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียง
มีผู้มาปฏิบัติอยู่ ณ ที่นี่เป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่ายามค่ำคืนของที่นี่
บนภูเขาจะเต็มไปด้วยแสงเทียนที่จุดขึ้นด้วยผู้บำเพ็ญเพียร
ด้วยหลวงพ่อเภา เป็นพระเถราจารย์ที่มีศิษยานุศิษย์จำนวนมาก
ทั้งพระราชวงศ์ฝั่งกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ วัดจึงได้รับความอุปถัมภ์จากพระบรมวงศานุวงศ์เรื่อยมา
ภายหลังจากหลวงพ่อเภามรณภาพแล้ว
ได้มีเจ้าอาวาสหลายรูปสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน เสนาสนะต่างๆได้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา
อีกทั้งยังประสบกับภัยโจรที่พยายามเข้าขโมยทรัพย์สิน สร้างความเสียหายให้แก่โบราณวัตถุภายในวัดเรื่อยมา
รวมถึงฝูงลิงจำนวนมากที่ปีนป่ายห้อยโหนโบราณสถานต่างๆ
ภายในวัด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2552 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
ได้รับวัดถ้ำตะโกพุทธโสภาแห่งนี้ ไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์
จึงได้เริ่มมีการบูรณะถาวรวัตถุต่าง ๆ อย่างจริงจัง ซึ่งขณะนี้ทางวัดยังขาดทุนทรัพย์ปัจจัยอีกเป็นจำนวนมาก
สิ่งที่น่าสนใจ
สิ่งที่น่าสนใจในสถานที่แห่งนี้คือ
พระบรมสารีริกธาตุจำนวน 3 องค์ ในสถูปงาช้างที่ได้รับจากพระบรมวงศานุวงศ์
ประดิษฐานไว้ ณ ที่วัดแห่งนี้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากนี้ยังมีพระบรมอัฐิ
ที่ประดิษฐานในบุษบกจำลองฝีมือช่างหลวง ร่วมกับพระบรมสารีริกธาตุขนาดเมล็ดถั่วเขียว
สันนิษฐานว่าเป็นพระบรมอัฐิขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่รัฐบาลอังกฤษทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งปรากฏหลักฐานภายหลังว่า พระองค์ได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุชุดนี้แด่พระบรมวงศานุวงศ์ด้วย
อีกทั้งภายในวัดถ้ำตะโกแห่งนี้
ยังมีพระธาตุที่แปรสภาพจากอัฐิของหลวงพ่อเภา และศิษยานุศิษย์ของท่านให้ศึกษา
รวมถึงพระพุทธรูปโบราณสมัยต่างๆ ด้วย
ภาพสถานที่
วิธีการเดินทาง
|